|
ที่นี้ เรามาดูเกี่ยวกับ Filler กันบ้าง
นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รอง ผอ.สถาบันโรคผิวหนังระบุว่า คนเราพออายุ 20 ปีขึ้นไป การสร้างคอลลาเจนของผิวจะลดลงแต่การทำลายยังมีอยู่ต่อไป ทำให้เกิดภาวะผิวเหี่ยวเป็นรอยย่น จึงมีการคิดค้นนำสารเติมเต็มจากภายนอกใส่เข้าไปแทน ซึ่งในปัจจุบันมีสารฟิลเลอร์อยู่ 3 แบบ คือ...
1.แบบชั่วคราว อายุการใช้งาน 4-6 เดือน มีความปลอดภัยสูงแต่มีราคาสูงเช่นกัน เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติย่อยสลายเองได้
2.แบบกึ่งถาวร แบบนี้มีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง
3.แบบถาวร เช่น ซิลิโคน หรือพาราฟิน แบบนี้มักพบผลข้างเคียงระยะยาวเพราะฉีดแล้วจะอยู่ในผิวตลอดไป
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ถ้าเลือกชนิดของฟิลเลอร์ไม่ดี หรือผู้ให้บริการไม่มีความชำนาญพอ อาจทำให้ริ้วรอยที่มีอยู่เกิดปัญหาหนักขึ้นกว่าเดิม เบาะ ๆ คือ เป็นตุ่มแดงนูนปรากฏให้เห็นชัดเจน หากแทงเข็มฉีดตื้นเกิน หนักหน่อยก็จะเป็นเหมือนแผลคีลอยด์นูนขึ้นตามร่องริ้ว ซึ่งถ้าใช้ฟิลเลอร์ประเภทชั่วคราวก็สามารถเลือนหายได้เอง แต่หากเป็นฟิลเลอร์ประเภทถาวรก็จะเป็นแผลเป็นตลอดชีวิต หนักหน่อยเป็นกรณีการอักเสบใต้ผิวหนัง กลุ่มนี้ถ้าใช้ฟิลเลอร์ชนิดแข็งมากไปก็จะไปกดทับเส้นเลือด หรือถ้าเผลอฉีดเข้าไปในเส้นเลือดเลย จะทำให้ผิวบริเวณดังกล่าวขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงและกลายเป็นแผลเน่าในที่สุด แต่ที่ร้ายแรงสุดคือส่งผลต่อชีวิต เพราะทั้งการใช้สารโบท็อกซ์และฟิลเลอร์นั้น เป็นการนำสารสู่ร่างกายผ่านทางการฉีด ถ้าเข็มไม่สะอาด ระบบการให้บริการไม่สะอาด ก็อาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดจนทำให้ตายได้
เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการเข้ารับบริการในสถานบริการที่ไม่ผ่านการรับรองจากองค์การ อาหารและยา ควรสอบถามข้อมูลให้กระจ่างทุกครั้งที่เข้ารับบริการ ควรรับบริการจากแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น และไม่ควรนำสารเสริมความงามไม่ว่าจะเป็นโบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ หรือแม้แต่กูลต้าไธโอนมาฉีดให้กันเอง เนื่องจากมีอันตรายมากกว่าที่คิดไว้ โดยในส่วนของกลูต้าไธโอนนั้น หากฉีดบ่อยๆ ในระยะยาวอาจทำให้แก่เร็วมากขึ้น เพราะตัวสารจะเกิดปฏิกิริยากลายเป็นอนุมูลอิสระ แทนที่จะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระครับ" รอง ผอ.สภาบันโรคผิวหนังย้ำเตือนอีกครั้ง
ขอบคุณที่มา หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์
(บทความนี้ทางเราได้ตัดเอามาเฉพาะส่วนที่สำคัญ แต่ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในส่วนใดๆทั้งสิ้น)
|
|