1เฟรม
ดู: 46|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทันตกรรมรากเทียม (Dental Implant)

[คัดลอกลิงก์]
ทันตกรรมรากเทียม (Dental Implant) คือการฝังวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันลงบนกระดูกขากรรไกร เพื่อช่วยให้ฟันปลอมภายในช่องปากสามารถยึดเกาะได้  ทำได้ทั้งชนิดให้ฟันปลอมติดแน่น และฟันปลอมถอดได้

ผู้ที่ควรเข้ารับการรักษา   
-        ผู้ที่มีการสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่งหรือหลายซี่
-        ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมถอดได้หรือมีความกังวลเกี่ยวกับการสวมใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้
-        ผู้ที่มีปัญหาหรือจุดบกพร่องทางสุขภาพปาก อันเนื่องเกิดจากโรคการทำศัลยกรรมหรือได้รับบาดเจ็บทางปากและฟัน
รากเทียมประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ
1. รากเทียม (Fixture) ซึ่งทำมาจากโลหะไทเทเนียม (Titanium) ซึ่งมีลักษณะคล้ายรากฟัน และฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร สามารถยึดติดกับกระดูกขากรรไกร โดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบ และไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ
   2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) ทำเพื่อครอบฟันให้ยึดติดแน่นกับรากเทียมถ่ายทอดแรงบดเคี้ยวจากครอบฟันสู่รากเทียมและสู่กระดูกขากรรไกร
   3. ครอบฟัน (crown) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก เป็นตัวรับแรงบดเคี้ยวอาหาร
ขั้นตอนในการทำรากเทียม
ขั้นแรก : ทันตแพทย์จะทำการ X-Ray เพื่อประเมินความหนาของกระดูกขากรรไกร ที่อยู่บนสันเหงือก จากนั้นก็ผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมลงไปในกระดูก และเย็บปิดแผล จากนั้น 7 วันจึงมาตัดไหมที่เย็บออก และให้เวลาการหายของแผล  เพื่อให้ฝังรากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี ประมาณ 3-4 เดือน สำหรับฟันบน และ 2-3 เดือน สำหรับฟันล่าง
ขั้นที่สอง : ทันตแพทย์จะทำการต่อเดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) เพื่อใช้เป็นที่รองรับครอบฟัน และจะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งให้ Lab ทำครอบฟัน
ขั้นที่สาม : หลังจากนั้นประมาณ 1-4 อาทิตย์ ทันตแพทย์จะนั้นใส่ครอบฟันให้ โดยครอบฟันนั้นทำมาจากวัสดุเซรามิค (porcelain) ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะและสีสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ  หลังจากนั้นทันตแพทย์จะนัดเช็คอีก 1 เดือน, 2 เดือน และ 6 เดือน
วัสดุที่ใช้ทำรากเทียม
        เป็นโลหะไททาเนียมเกรดที่ 4 (ชนิดที่ใช้ในทางการแพทย์) มีผลการวิจัยอย่างยาวนานรองรับว่า ไม่มีอันตราย และเข้ากันได้ดีต่อเนื้อเยื่อมนุษย์ ขณะเดียวกันก็มีความแข็งแรงคงทน รับแรงบดเคี้ยวและคงรูปได้ดี ในปัจจุบันได้รับความเชื่อถือทางการแพทย์ ว่ามีความปลอดภัยสูงสุด
การดูแลรักษา
หลังการปลูกรากฟันเทียม  สามารถดูแลและรักษาสุขภาพของปากและฟันได้เหมือนการดูแลปกติทั่วไป  และทำความสะอาดเป็นพิเศษบริเวณที่ทำการปลูกรากฟันเทียม และบริเวณเหงือกโดยรอบด้วยแปรงขัด ที่มีลักษณะพิเศษขนาดเล็ก  นอกจากการดูแลที่บ้านแล้ว ควรเข้ารับการตรวจสภาพฟัน กับทันตแพทย์เป็นประจำอีกด้วย  โดยเฉพาะในช่วงปีแรกหลังการเข้ารับการรักษา ควรพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสภาพโครงสร้าง โดยการตรวจในช่วงหนึ่งเดือนแรก เดือนที่สาม และเดือนที่หก  หลังจากปีแรก ให้พบทันตแพทย์เป็นประจำปีละสองครั้ง
ข้อดีของทันตกรรมรากเทียม
- ยิ้มด้วยความมั่นใจ
- รับประทานอาหารได้ทุกชนิดที่คุณชื่นชอบ
- พูดจาชัดถ้อยชัคคำเป็นธรรมชาติ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว ทำให้อาหารย่อยได้ดีขึ้น
- บูรณะโครงสร้างของใบหน้าให้เกิดความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
- สร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้มีความสุขมากยิ่งขึ้น
- เชื่อมั่นในตนเองและทำให้มีบุคลิกภาพที่ดี
-ใช้แทนการทำสะพานฟัน โดยไม่ต้องเสียเนื้อฟันข้างเคียง
- ไม่ทำให้กระดูกในบริเวณที่สูญเสียฟัน ยุบบุบไป
- ใช้ได้ดี สะดวกและปลอดภัยกว่าฟันปลอมถอดได้     
        ด้วยทันตกรรมรากเทียม คุณจะสามารถมีฟันซี่ใหม่ที่สวยงาม ใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ทำให้คุณสามารถ ส่งยิ้มให้กับคนรอบข้างได้อย่างสดใส และสามารถเพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารได้อย่างเอร็ดอร่อย อย่างไรก็ตามคุณควรปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางรากเทียมอีกครั้ง เพื่อวางแผนและให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ที่ webdungdong@gmail.com|บริษัท ดั้งโด่งดอทคอม จำกัด|ติดต่อลงโฆษณา| ดั้งโด่งดอทคอม@2020

Copyright © 2001-2013 Comsenz Inc.   All Rights Reserved. Powered by Discuz! X3.2 R20140618, Rev.27, Thzaa City 1 Style

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้