|
ปริมาณความต้องการสังกะสี
จาก คุณสมบัติของ สังกะสี ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าในกระบวนการทำงานเกือบทุกระบบในร่างกายล้วนแต่ต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบในการทำงานด้วยกันทั้งนั้น จึงนับได้ว่า สังกะสี เป็นแร่ธาตที่ร่างกายต้องการเป็นประจำไม่สามารถขาดได้เลย โดยปริมาณความต้องการ สังกะสี ของแต่ละคนจะแตกต่างกันตามเพศ วัย และภาวะของร่างกาย ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริการได้ทำการวิจัยและกำหนดความต้องการ สังกะสี (Zinc) ปกติของมนุษย์ไว้ตามตารางข้างล่างนี้
ปริมาณ สังกะสี ที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)
อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ 3 – 5 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ 10 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ 15 มิลลิกรัม/วัน
สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 20 – 25 มิลลิกรัม/วัน
สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ 25 – 30 มิลลิกรัม/วัน
แหล่งของสังกะสี
สำหรับ ร่างกายมนุษย์แล้วไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ สังกะสี ได้ขึ้นเอง จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารดังกล่าว ซึ่งแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่มีปริมาณ สังกะสี สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยนางรม เป็นแหล่ง สังกะสี ที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก โดยมีการวิจัยพบว่าอาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็น กรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึม สังกะสี ได้ดีขึ้น โดยธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มี สังกะสี อยู่ปริมาณน้อย ส่วนผัก ผลไม้แทบไม่มีปริมาณ สังกะสี อยู่เลย ซึ่งปริมาณ สังกะสี ในอาหารที่บริโภคประจำวันมีดังนี้
เนื้อ สัตว์ อาหารทะเล 1.5 – 4 มิลลิกรัม/100 กรัม
หอยนางรม 75 มิลลิกรัม/100 กรัม
ตับ 4 – 7 มิลลิกรัม/100 กรัม
ไข่แดง 1.5 มิลลิกรัม/100 กรัม
น้ำ นมวัว 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม
น้ำนมแม่ 0.1 – 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม
ธัญพืช 0.4 – 1 มิลลิกรัม/100 กรัม
ถั่ว 0.6 - 3 มิลลิกรัม/100 กรัม
โดย ในการบริโภคอาหารประจำวัน เราควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้ปริมาณ สังกะสี เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน อย่างไรก็ตามในการดำเนินชีวิตประจำวันปกติของเราทุกวันนี้ ยังมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ไม่เพียงพอได้ตลอดเวลา ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่
1. การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณ สังกะสี ต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง (Copper) มากเกินไป, พวก ไฟเบอร์, ไฟเตต (Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึม สังกะสี ผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้
2. อายุที่มากขึ้น (Aging) ประสิทธิภาพการดูดซึม สังกะสี ลดลง
3. หญิงในระยะตั้งครรภ์ (Pregnant) ต้องการ สังกะสี มากเป็นพิเศษ
4. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุ สังกะสี ได้
5. ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุ สังกะสี เป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirrhosis)
6. โรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึม สังกะสี ไม่ดี พบในเด็กเล็ก เรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica (โรคผิวหนังอักเสบ และผิดปกติทางจิตใจ)
อาการขาดสังกะสี
ซึ่งถ้าร่างกายมีอาการ ขาดแร่ธาตุ สังกะสี เป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้
1. การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน หรือหยุดชะงักเป็นหนุ่มเป็นสาว
2. ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปาก และอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดง ต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
3. ระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง
4. ระบบประสาท อาจมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้
5. ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย
6. มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง |
|