ปัจจัยกระตุ้นในการกลับเป็นซ้ำ - สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นได้แก่ การถูไถ การสัมผัสลม แสง ความเย็น เสื้อผ้าคับๆ เหงื่อ
- ความเครียด
- อาหารได้แก่ ถั่ว กาแฟ แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต
- ใครมีปัจจัยเสี่ยงในการได้รับเชื้อ herpes simplex
ทุกๆคนจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ herpes simplex โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฐานะไม่ดี โดยเชื้อ (HSV-1) จะติดต่อทางสารหลั่งในปาก ส่วน (HSV-2) จะติดต่อทางอวัยวะเพศ ทวารหนัก เมื่อเชื้อเข้าทางผิวหนังเชื้อจะไปตามเส้นประสาททำให้เชื้อลามเป็นบริเวณกว้างและอาจจะเกิดผื่นที่บริเวณใหม่ - ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเริมที่ปากคือวัยเด็กอายุ 4-5 ปีมักติดต่อทางการสัมผัสเช่นการใช้ของร่วมกัน การจูบ ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื้อนี้สามารถติดต่อจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งโดยเฉพาะที่ตาโดยการสัมผัสด้วยมือดังนั้นต้องล้างมือให้สะอาด
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเริมที่อวัยวะเพศมักเกิดในผู้ที่มีคู่ขาหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก oral sex ซึ่งเชื้อที่เป็นสาเหตุมักจะเป็น type 1 การป้องกันการติดเชื้อควรงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางคุมกำเนิดขณะมีอาการติดเชื้อ
- การเป็นเริมในทารกมักจะติดเชื้อในแม่ที่ติดเชื้อ HSV-2 และมีการคลอดก่อนกำเนิดหรือต้องใช้เครื่องมือในการคลอด
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นเช่น นักมวยปล้ำ นักรักบี้ นักมวย ผู้ป่วยโรคเอดส์
มีการศึกษาว่าแม้จะไม่มีผื่นหรืออาการเชื้อก็สามารถแพร่ออกมาได้ ดังนั้นไม่มีหลักประกันว่าการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่มีอาการจะปลอดภัยจากโรคเริม โรคแทรกซ้อนของการติดเชื้อ herpes simplex - การตั้งครรภ์และการติดเชื้อ herpes simplex พบว่าคนท้องที่ติดเชื้อประมาณร้อยละ 0.01.0.04 อาจจะเกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด เด็กเจริญเติบโตช้าโดยเฉพาะการติดเชื้อใกล้คลอดดังนั้นแนะนำว่าควรจะรักษาหากเกิดการติดเชื้อเมื่อใกล้คลอด การติดเชื้อครั้งแรกจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าการติดเชื้อที่กลับเป็นซ้ำ
- Herpes Encephalitis เกิดจากเชื้อที่อยู่ในระยะ Latency และเกิดการแบ่งตัวผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตหากไม่ได้รักษาแต่โชคดีที่พบน้อย
- Herpes Meningitis พบได้ร้อยละ 4-8 ในคนที่เป็น primary genital HSV-2พบมากในผู้หญิงแต่ไม่ต้องตกใจเนื่องจากหายเองใน 2-7วันผู้ป่วยจะปวดศีรษะ อาเจียน และมีไข้
- ผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากยา เช่น steroid มะเร็ง ยารักษามะเร็งหากผู้ป่วยกลุ่มนี้ติดเชื้อ herpes simplex จะเป็นรุนแรงมีโรคแทรกซ้อนปอดบวม ตับอักเสบ สมองอักเสบ
- การติดเชื้อที่ตา อาจจะทำให้ตาพร่ามัว ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะทำให้ตาบอด
การวินิจฉัย ![]() - สามารถทำได้โดยการซักประวัติและการตรวจร่างกายพบผื่นดังกล่าวข้างต้น
- การเพาะเชื้อไวรัสโดยการนำน้ำใต้ตุ่มใสไปเพาะเชื้อโดยเฉพาะควรจะนำหลังจากเกิดผื่นแล้วไม่เกิน 3 วัน การตรวจนี้ไม่ได้ผลในรายที่ผื่นตกสะเก็ด หรือผื่นของการกลับเป็นซ้ำ
- การตรวจโดยกล้องจุลทัศน์โดยการนำเนื้อเยื่อไปส่องกล้องพบเซลล์ตัวโต
|