|
แก้ไขล่าสุดโดย yonan เมื่อ 2010-3-31 19:02
อ้างอิงนะครับผม
ศัลยแพทย์มักจะพิจารณาผ่าตัดหลังจากเวลา ประมาณ 6 เดือน เนื่องจากก่อนระยะเวลาดังกล่าวแผลเป็น อาจค่อยๆ ดูดีขึ้นได้เองจนอาจไม่ต้องทำผ่าตัดก็ได้ กรณีแผลเป็นคีลอยด์ส่วนมากแพทย์จะแนะนำให้ใช้การฉีดสเตรียรอยด์ มีบางกรณีเท่านั้นที่เลือกใช้การผ่าตัดร่วม เช่น คีลอยด์บริเวณติ่งหู เป็นต้น
วิธีการรักษา แผลเป็นคีลอยด์ ต้องควบคุม การผลิตของคอลลาเจนทำให้แผลเป็นนิ่มลงเร็วขึ้น ใช้เอ็นซัยม์เตตร้าฮัยดร็อกซี่ควิโนนช่วย การใช้ยาฉีดคอร์ติโซน ฮัยโดรคอร์ติโซน ไทรแอมซิโนโลนฉีดเข้าที่ก้อนเนื้อโดยตรง จะลดการผลิตของคอลลาเจนลงและทำให้แผลนิ่มลงก่อนแล้วจึงทำการผ่าตัดเอา คีลอยด์นั้นออก ส่วนการรักษาโดยวิธีอื่นก่อนถึงเวลาผ่าตัดอาจประกอบด้วยการฉีดยาพวก สเตียรอยด์ เข้าไปบริเวณแผลเป็นโดยตรง แต่ก็มีข้อห้ามในการฉีดยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะว่ามีผลต่อทารก ผู้ป่วยที่เป็นสิวก็จะทำให้เป็นสิวมากขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการฉีดพวกนี้ควรจะอยู่ภายในการแนะนำของแพทย์ หลังจากที่แผลหายดีแล้วการจะฉีดยาไทรแอมซิโนโลนอีก ต่อทุกๆ 1 เดือน เพื่อคุมแผลเป็นไม่ให้โตขึ้นอีก เพราะว่าถ้าฉีดมากเกินไปจะทำให้แผลมีรอยบุ๋มหรือรอยยุบอย่างถาวร ซึ่งจะดูไม่สวยเป็นโรคแทรกซ้อนอันหนึ่งของการฉีดสเตียรอยด์ จะมีลักษณะผิวหนังเป็นรอยขาวๆด่างๆ เมื่อแผลเป็นยุบเรียบร้อยแล้ว ก็อาจจะใช้แป้งทาหน้าที่เป็นสีเนื้อทาลงบนแผลเป็นนั้น ผิวสีก็จะกลมกลืนกับผิวเนื้อของผู้ป่วย ก็จะดูสวยงามขึ้น
หลักการและขั้นตอนวิธีต่างๆกันดังนี้ ตัดแผลทั้งหมดออก แล้วทำการเย็บใหม่ด้วย วิธีเย็บที่เหมาะสม มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันการยืดของแผล และเย็บอย่างละเอียดปราณีต เพื่อให้แผลหายได้ดีและเร็วที่สุด แผลใหม่ที่เย็บจะเป็นเส้นบางเท่าเส้นผม และขอบแผลแนบสนิทเสมอกัน นอกจากการเย็บแบบแนวเส้นตรง บางแผลจำเป็นต้องตัดและเย็บแผลแบบพิเศษ เป็นลักษณะรูปฟันปลาเล็กๆ เพื่อให้แผลหายได้ดีขึ้นกว่าวิธีเย็บปกติ ตัดบางส่วน ของแผลที่มีปัญหาออก แล้วทำการเย็บบริเวณดังกล่าวและเมื่อแผลหายดีแล้ว จึงทำการตัดส่วนที่เหลือของแผลเป็นออกอีกครั้งจนหมด มักใช้ในแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถตัดครั้งเดียวได้หมด ตัดแผลร่วมกับการกรอผิวบริเวณแผลหรือด้านข้างของแผล เพื่อให้ผิวหนังใหม่ขึ้นคลุมแผล ลดความเด่นชัดของรอยเย็บใหม่ ใช้การกรอไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเคมี เครื่องมือเฉพาะ หรือเลเซอร์ ได้ผลดีในรายที่แผลมีลักษณะเป็นหลุม ร่อง
ผลที่ได้หลังจากการตกแต่งรอยแผลเป็นจะเป็นการปรับ สภาพของแผลจากที่เคยเห็นได้ชัด พรางให้กลมกลืนกับเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือจากแผลกว้างให้เหลือเป็นเพียงเส้นบางๆ ระยะแรกแผลยังอาจมองเห็นได้ชัด จากขอบรอบแผลที่แก้ไข มีสีชมพู แต่ตัวแผลจะเป็นเพียงรอยเส้นบางๆ เท่าเส้นผมซึ่งเป็นปฏิกิริยาการหายตามปกติธรรมชาติของร่างกาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายจะปรับให้สีที่ขอบแผลจางลง การแก้ไขแผลเป็น เป็นการแก้ไขให้แผลเป็นที่เห็นชัด ให้รอยแผลดีขึ้น รอยแผลจะไม่มีการหายไปจนมองไม่เห็น ผลที่ดีที่สุดหลังแก้ไขที่เป็นไปได้ ก็จะเป็นเพียงรอยแผลบางเท่าเส้นผมและเป็นรอยจางๆ มองเห็นได้ไม่ชัด ต้องตั้งใจสังเกต และผลการรักษาในแต่ละคนจะแตกต่างกันได้ จากความสามารถในการหายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลังการแก้ไขแผลเป็นจนแผลหายเต็มที่แล้ว ลักษณะแผลเป็นสุดท้ายจะดูดีขึ้นกว่าก่อนแก้ไข แต่การหายหลังแก้ไขอาจจะดีไม่เท่ากันทั้งหมดของแนวแผล ดังนั้นบางครั้งอาจที่จะต้องมีการแก้ไขรอยแผลบางส่วนซ้ำเพิ่มอีกเล็กน้อย
นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ |
|