ดู: 1206|ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อาหารชะลอความเสื่อมชรา

[คัดลอกลิงก์]
สารอาหารชะลอความเสื่อมชราและต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)

แอนดี้ ออกซิแดนท์ (Antioxidant) คืออะไร

แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) เป็นสารอาหารที่สามารถพบได้ในธรรมชาติ เช่น ในผัก ผลไม้ และมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Free Radical)

อนุมูลอิสระเป็นส่วนของโมเลกุลซึ่งมีพลัง- งานสูงและชอบที่จะไปจับคู่ ซึ่งการหาคู่นี้ทำให้เกิดการทำลายอย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น เมื่อหั่นแอปเปิ้ลเป็นชิ้น แล้วใส่จานทิ้งไว้บนโต๊ะ โดยไม่มีอะไรปิดสักครู่ เนื้อแอปเปิ้ลก็จะกลายเป็นสีน้ำตาลหรือถ้าวางแท่นเหล็กไว้กลางฝนก็จะมีสนิมเกิดขึ้นเหล่านี้เกิดจากการทำลายของอนุมูลอิสระนั้นเองที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสของเนื้อแอปเปิ้ล และทำให้เหล็กเป็นสนิม และยังทำอันตรายให้แก่ ร่างกายของเรา ได้อีก ด้วยอนุมูลอิสระมาจากไหนและมีผลทำลายอะไรบ้างโดยปกติอนุมูลอิสระจะเกิดขึ้นตลอดเวลาในร่างกายจากการหายใจจากขบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย ซึ่งเราเรียกว่า ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) จากความเครียดหรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ไอเสีย
ของรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม สารกันบูดในอาหาร จากยาบางชนิดและรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตในแสงแดด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถกระตุ้นก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นที่บริเวณผิวหนัง และทำปฏิกิริยาต่อเซลล์ข้างเคียง ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพหรือตายเร็วกว่าปกติ จึงทำให้แก่ก่อนวัย ถ้ามีอนุมูลอิสระมากจะก่อให้เกิดโรคแห่งความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ และต้อกระจกเป็นต้นนอกจากนี้ยังพบว่าคนที่สูบบุหรี่ตากแดดเป็นประจำ และมีความเครียดจะแก่เร็วกว่าวัย

ปัจจัยอะไรบ้างที่เร่งการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย

1. การสูบบุหรี่, การดื่มเหล้า และชา กาแฟ
2. การรับประทานอาหารไหม้เกรียม
3. ความเครียด
4. การตากแดดเป็นประจำ
5. มลภาวะ เช่น การได้รับสารปรอท ตะกั่วจากไอเสียรถยนต์ ยาฆ่าแมลง สารกันบูด

เราสามารถป้องกันตัวเองจากอนุมูลอิสระจากการศึกษาพบว่าอนุมูลอิสระบางชนิดนั้นไม่เป็นอันตรายและเซลล์เม็ดเลือดขาวใช้อนุมูลอิสระเหล่านี้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเซลล์มะเร็ง แต่ถ้ามีอนุมูลอิสระมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการมาก ร่างกายของเราจะผลิตเอน์ไซมบางชนิดซึ่งเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์เอนไซม์เพื่อป้องกันอนุมูลอิสระ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าถึงแม้จะมีการสร้างแอนตี้ออกซิแดนท์ - แอนไซม์ขึ้นก็ไม่เพียงพอ ร่างกายยังต้องการแอนตี้ออกซิแดนท์ซึ่งได้แก่ วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอีไบโอฟลาโวนอยด์ และ เกลือแร่เช่น ซีลีเนียม แมงกานีส ทองแดง สังกะสี และโมลิบดินัมอีกด้วยแอนตี้ออกซิแดนท์มีอะไรบ้าง

สารอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มของ แอนตี้ออกซิแดนท์ มีดังนี้

1. วิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน (Vitamin A and Beta Carotene)
2. วิตามินซี และไบโอฟลาวานอยด์ (Vitamin C and Bioflavanoids)
3. วิตามินอี (Vitamin E)
4. ซีลีเนียม (Selenium)
5. สารประกอบอื่น ๆ เช่น โคเอนไซม์คิวสิบ ซีสเตอีน เมลาโทนิน เป็นต้น

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-2-18 22:26:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แอนตี้ออกซิแดนท์ อาจใช้สัญลักษณ์ "ACES" ซึ่ง A-C-E ก็เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ประกอบด้วย วิตามินเอในรูปเบต้าแคโรทีน วิตามีนซี และวิตามินอี แอนตี้ ออกซิแดนท์ กับการป้องกันและรักษาโรคทุก ๆ วัน เซลล์ในร่างกายของมนุษย์จะถูกทำลายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ซึ่งก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่สามารถก่อให้เกิดพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อ และอวัยวะได้เพราะอนุมูลอิสระเหล่านี้สามารถทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับสารประกอบของเซลล์ร่างกายได้แก่ กรดนิวคลีอิก โปรตีนกรดอะมิโนอิสระ ไขมันคาร์โบไฮเดรต เป็นต้น ทำให้กลไกต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติอนุมูลอิสระเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดโรคและความชรา ฉะนั้นเพื่อป้องกันอันตรายจากสารประเภทนี้ จึงมีการทดลองใช้ วิตามินเพื่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เพื่อชะลอความชราและเพื่อลดความเสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น บทบาทของแอนตี้ ออกซิแดนท์ ต่อโรคมะเร็งขบวนการออกซิเดชั่นสามารถทำ
ให้เกิดโรคมะเร็งและกระตุ้นให้เนื้องอกโตขึ้นได้นอกจากนี้ยังมีผู้ศึกษาพบว่า อนุมูลอิสระอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากอนุมูลอิสระเป็นสาเหตทำให้เซลล์กลายพันธุ์ และกระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า A-C-E ซึ่งเป็น แอนตี้ออกซิแดนท์สามารถช่วยยับยั้งหรือลด -อัตราการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิดได้ เนื่องจาก A-C-E สามารถทำลายอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ทำลายสารก่อมะเร็งได้
บทบาทของแอนตี้ ออกซิแดนท์ ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดปัจจุบันพบว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรโลก ซึ่งจากการศึกษาเชื่อกันว่าอนุมูลอิสระสามารถทำปฏิกิริยากับไขมันในร่างกาย ซึ่งมีอยู่ในรูปของไลโปโปรตีนชนิด LDL (Low Density Lipoprotein ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดี) ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้จากการศึกษาพบว่า A-C-Eสามารถลดอุบัติการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดย A-C-E สามารถที่จะยับยั้งการรวมตัวกับออกซิเจนของ LDL ได้ ทำให้ LDL ไม่สามารถจับตัวกับอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ A-C-E ยังมีผลทำให้ HDL (High Density Lipoprotein ซึ่งเป็นไขมันดี) สูงขึ้นได้ จึงลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้ บทบาทของแอนตี้ ออกซิแดนท์ ต่อการเสื่อมของเซลล์ (ความชรา) จากรายงานพบว่า A-C-E สามารถป้องกันโรคและมีความสัมพันธ์กับความชรา เพราะ A-C-E ซึ่งเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์มี
คุณสมบัติบางประการที่สามารถป้องกันผนังเซลล์มิให้ทำปฏิกิริยารวมตัวกับออกซิเจนจนเกิดการถูกทำลายได้ ทำให้ไม่เกิดอนุมูลอิสระซึ่งมีผลทำให้สามารถชะลอความเสื่อมและความชราได้

ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข
แคลเซียมก็สำคัญนะครับ จะได้แข็งแรงไปด้วยเลย ทานนมทานแคลเซียมกันเอยะๆนะครับ ขอบคุณข้อมูลนะครับ

แสดงความคิดเห็น

ครับทานพอดีอ่ะครับ อะไรถ้ามันเยอะเกินไปก็ให้โทดหมดและครับ  โพสต์ 2013-2-20 11:53
แต่ทานพอสมควรนะค่ะ เคยได้ยินว่าบางคนทานแทนน้ำก็มีโทษเหมือนนกัน  โพสต์ 2013-2-20 11:49
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ที่ webdungdong@gmail.com|บริษัท ดั้งโด่งดอทคอม จำกัด|ติดต่อลงโฆษณา| ดั้งโด่งดอทคอม@2020

Copyright © 2001-2013 Comsenz Inc.   All Rights Reserved. Powered by Discuz! X3.2 R20140618, Rev.27, Thzaa City 1 Style

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้