1เฟรม
ดู: 414|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มารู้จักยาลดน้ำหนัก กันหน่อยดีกว่า

[คัดลอกลิงก์]
  ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนสมัยไหน รูปร่าง หน้าตา และบุคลิกภาพ เป็นลักษณะสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้หญิงในการที่จะเข้าสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันค่านิยมที่ผู้หญิงต้องมีรูปร่างที่ได้ส่วนสัด หุ่น เพรียวบาง ถือเป็นความปรารถนาสูงสุดของผู้หญิงทุกคน ดังนั้น ผู้หญิงที่เจ้าเนื้อ มีรูปร่างที่อวบอัด หรือเรียกอีกอย่างว่า "อ้วน" จึงพยายามที่จะลดน้ำหนักลง โดยคาดหวังว่าจะกลับมามีรูปร่างที่ดีเหมือนคนอื่น ซึ่งบางคนอาจหันมาพึ่งยาลดน้ำหนักโดยขาดความรู้ และความเข้าใจที่ดีพอ จึงเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการใช้ยาได้ ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า "อ้วน" คืออะไร มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร จะลดความอ้วนได้อย่างไรบ้าง แล้วยาลดน้ำหนักออกฤทธิ์อย่างไร มีผลเสียหรือไม่ อย่างไร



เมื่อไรถึงควรจะใช้ยาลดน้ำหนัก?
  เมื่อใช้วิธีการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน ทั้ง ๓ วิธีแล้วยังคงมีค่า BMI ตั้งแต่ ๓๐ กิโลกรัม/ตารางเมตรขึ้นไป


ยาลดน้ำหนักออกฤทธิ์อย่างไร มีผลเสียหรือไม่ ยาลดน้ำหนักที่มีการใช้กันมากในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น  ๒  กลุ่มใหญ่  ตามกลไกการออกฤทธิ์ ดังนี้

1.ที่ลดความอยากอาหาร ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ที่สมอง ทำ ให้มีความอยากอาหารลดลง จึงลดการได้รับพลังงานจากสารอาหาร ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ diethylpropion, d-norpseudoephedrine, phentermine, fluoxetine, sibutramine เป็นต้น เนื่องจากยาออกฤทธิ์ที่สมอง การใช้ยากลุ่มนี้จึงอาจทำให้พบผลข้างเคียงได้หลายอย่าง ที่พบบ่อยได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หงุดหงิดง่าย ปวดศีรษะ ปากแห้ง คอแห้ง เหนื่อยล้า ท้องผูก (ยกเว้น fluoxetine จะทำให้ท้องเสีย) แต่ผลเสียที่สำคัญและอันตรายคือ การใช้ยาในระยะยาวจะทำให้เกิดการติดยา จึงแนะนำให้ใช้ในระยะเวลาไม่เกิน 4 สัปดาห์ และยาเกือบทุกตัวในกลุ่มนี้ ทำให้ระดับความดันเลือดสูงขึ้นได้ ดังนั้น จึงห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และผู้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูง ยาบางชนิดทำให้นอนไม่หลับ จึงควรกินยาก่อนอาหารเช้า ไม่ควรกินก่อนอาหารกลางวันหรืออาหารเย็น เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ นอกจากนี้ ผลเสียอีกอย่างหนึ่งซึ่งหลายคนที่กินยาลดน้ำหนักอยู่คงประสบกับตนเองก็คือ เมื่อกินยาไปนานๆ สักระยะพอรูปร่างเริ่มเข้าที่จึงหยุด ยาลดน้ำหนัก ก็กลับมาเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนใช้ยาเสียอีกเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า" Yo Yo effect"

2.ยาที่ลดการดูดซึมอาหารประเภทไขมัน ได้แก่ orlistat ยา กลุ่มนี้จะไปยับยั้งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารประเภทไขมันไม่สามารถดูดซึมได้ เนื่องจากยาไม่ได้ ออกฤทธิ์ที่สมอง ผลข้างเคียงจึงไม่มาก มายเท่ายาในกลุ่มแรกแต่ก็ยังพบได้บ้าง ที่พบได้บ่อยคือ ท้องอืด และอุจจาระมี ไขมันปน ผลจากการที่ยาลดการดูดซึมไขมันนี้เองจึงอาจทำให้เกิดภาวะการขาดสารอาหารไขมัน และวิตามินที่ละลาย ไขมัน เช่น วิตามินเอ, ดี, อี, เค และเบต้าแคโรทีนได้ ดังนั้น ถ้าใช้ยานี้เป็นเวลานานควรจะได้กินวิตามินเสริม โดยให้ห่างจาก orlistat ประมาณ 2ชั่วโมง

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ที่ webdungdong@gmail.com|บริษัท ดั้งโด่งดอทคอม จำกัด|ติดต่อลงโฆษณา| ดั้งโด่งดอทคอม@2020

Copyright © 2001-2013 Comsenz Inc.   All Rights Reserved. Powered by Discuz! X3.2 R20140618, Rev.27, Thzaa City 1 Style

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้