ดู: 2165|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ประโยชน์ของ ครีมกันแดด....ลองอ่านดูนะครับ

[คัดลอกลิงก์]
ช่วยปกป้องการทำลายเซลล์ผิวหนัง จากรังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดด ซึ่งเป็นต้นเหตุของมะเร็งผิวหนัง และยังทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีใต้ผิวหนัง ในคนเอเชียโอกาสที่จะเกิดมะเร็วผิวหนังมีไม่มากนัก ดังนั้นการใช้ ครีมกันแดด จึงมีวัต...ถุประสงค์เพื่อป้องกัน การเกิดจุดด่างดำบนผิวหนังมากกว่า

ประเภทของ ครีมกันแดด
ครีมกันแดด มีทั้งหมด 3 ประเภทดังนี้

1. Chemical Sunscreen
เป็น ครีมกันแดด ที่มีส่วนผสมของสารเคมี ทำหน้าที่ปกป้องแสงแดด โดยการดูดซับรังสีแสงแดดเข้าไว้ในผิว ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็เสื่อมสภาพ นั่นคือสาเหตุที่เราจึงต้องทา ครีมกันแดด ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง การเลือกใช้ ครีมกันแดด ที่มีค่า SPF สูงๆ ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีปริมาณมาก อาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังโดยเฉพาะคนที่มีผิวแพ้ง่าย
2. Physical Sunscreen
เป็น ครีมกันแดด ที่มีส่วนผสมของสาร ที่สามารถสะท้อนรังสี UVA และ UVB ออกไปจากผิวหนัง ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีผลระคายเคืองต่อผิวหนัง น้อยกว่าสารในกลุ่มแรก แต่มีข้อด้อยคือ ครีมกันแดด ประเภทนี้ไม่สามารถให้ SPF ที่สูงๆ ได้ และเมื่อทาบนผิวหนังแล้ว หน้าจะดูขาวมาก เนื่องจากสารจะเคลือบบนผิวหนังชั้นบน เพื่อรอแสงกระทบ จึงมีการดูดซึมสู่ผิวน้อย
3. แบบผสม Chemical-Physical Sunscreen
เป็นการเสริมข้อดี ลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง จากสารประเภทสารเคมี และ ลดความขาวเมื่อทาครีม และ เสริมประสิทธิภาพ ในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน
ส่วนผสมในครีมกันแดด สามารถแบ่งตามสารออกฤทธิ์ได้ดังนี้

1. สารออกฤทธิ์กลุ่มสารเคมีที่ป้องกัน UVA ได้แก่ Oxybenzone, Sulisobenzone, Dioxybenzone, Avobenzone, Merxoryl sx
2. สารออกฤทธิ์กลุ่มสารเคมีที่ปัองกัน UVB ไ้ด้แก่ Aminobenzoic acid (PABA), Homosalate, Cinoxate, Octyl methoxycinnamate, Octyl salicylate, Padimate O, Phenylbenzimidazole sulfonic acid, Trolamine salicylate, Methyl anthralinate
3. สารออกฤทธิ์กลุ่ม Physical เป็น สารกันแดด ที่สะท้อนแสงที่ป้องกันทั้ง UVA และ UVB ได้แก่ Titanium dioxide, Zinc Oxide

วิธีเลือกซื้อครีมกันแดด
1. SPF (Sun Protective Factor) ซึ่งเป็นตัวบอกว่า ป้องกัน UVB ได้กี่เท่าส่วน UVA ยังไม่มีค่ามาตรฐาน ปัจจุบันนิยมใช้ PA และเครื่องหมาย + ปกติคนไทยมีผิวคล้ำซึ่งเม็ดสีสามารถป้องกัน UVB ได้บ้างแล้ว ดังนั้น SPF มากกว่า 15 และ PA++ ขึ้นไป ก็เพียงพอ
2. ดูที่กิจกรรม ถ้าออกกำลังกลางแจ้ง มีเหงื่อ ว่ายน้ำ ทำงานกลางแดด ต้องใช้ SPF ที่สูงขึ้นและเลือกประเภทที่กันน้ำได้ (Water Proof หรือ Water Resistance)
3. ปริมาณ ควรใช้ปริมานที่ไม่น้อยเกินไป เพราะสารเคมีอาจทำปฏิกิริยากันทำให้ลดคุณภาพลงไป
4. จำนวนครั้งที่ทาต่อวัน ก็สำคัญ ถ้าอยู่ในออฟฟิศ ห้องแอร์ วันละครั้งก็เพียงพอ แต่ถ้าต้องทำงานกลางแดด โดนลม อาจจะทาเติม ถ้าว่ายน้ำต้องทาทุก 2-3 ชั่วโมง
5. ทาแล้วก็ต้องเลี่ยงแดดด้วย ใส่แว่น ใส่หมวก เนื่องจาก ครีมกันแดด ไม่ได้กันได้ 100 %
6. ยี่ห้อ ราคา ไม่สำคัญ ขอให้มีคุณสมบัติครบ ไม่มีปฏิกิริยาต่อผิวหนัง เช่น คัน ผื่น
7. อาหาร อย่าลืมทานอาหารที่มีความสามารถ กำจัดอนุมูลอิสระ เช่น วิตามิน เกลือแร่ ในผักทุกชนิด และผลไม้ด้วย

วิธีเลือกใช้ครีมกันแดด

1. ที่มีค่า SPF สูงกว่า 15
2. มีสารเคมีที่กัน UVA ได้ดีอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น Oxybenzone + TiO2 หรือ Parsol 1789 + ZnO เป็นต้น
3. กันน้ำได้ ( Water resistance, หรือ water proof)
4. มีการทดลองว่า ไม่สลายจากแสง (photo stable)
ควรทา ยากันแดด ให้หนาเพียงพอ 15 นาที ก่อนอยู่กลางแดด และอาจทาซ้ำทุก 15 นาที หลังจากทาครั้งแรก หรือทุก 1-2 ชม. ถ้าว่ายน้ำ หรืออยู่กลางแดดจัด เนื่องจากการทา ยากันแดด ซ้ำ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการ กันแดด ได้อีก 2-3 เท่า เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ มักทา ยากันแดด ในปริมาณน้อยกว่าที่ควร

SPF ค่าสูงป้องกันได้นานกว่า ไม่ใช่ป้องกันได้ดีกว่า
ความเป็นจริงแล้วค่า SPF (Sun Protection Factor) บ่งบอกถึงระดับความยาวนานของการป้องกันแสงแดดโดยไม่ทำให้ผิวร้อนแดง โดยค่าสูงสามารถปกป้องได้ยาวนานกว่าค่าต่ำ ทำให้ไม่ต้องทาครีมบ่อย
- ครีมกันแดด ที่มี SPF 15 ป้องกันผิวก่อนร้อนแดงได้นาน (15 x 5) = 75 นาที หรือ 1 ชั่วโมง 15 นาที
- ครีมกันแดด ที่มี SPF 30 ป้องกันผิวก่อนร้อนแดงได้นาน (30 x 5) = 150 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 30 นาที
- ครีมกันแดด ที่มี SPF 60 ป้องกันผิวก่อนร้อนแดงได้นาน (60 x 5) = 300 นาที หรือ 5 ชั่วโมง

ประชาสัมพันธ์.jpg (191.97 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 12)

ประชาสัมพันธ์.jpg

aกก cกopy.jpg (194.25 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 13)

aกก cกopy.jpg
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ที่ webdungdong@gmail.com|บริษัท ดั้งโด่งดอทคอม จำกัด|ติดต่อลงโฆษณา| ดั้งโด่งดอทคอม@2020

Copyright © 2001-2013 Comsenz Inc.   All Rights Reserved. Powered by Discuz! X3.2 R20140618, Rev.27, Thzaa City 1 Style

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้