ดั้งโด่งดอทคอม
ชื่อกระทู้:
ศัลยกรรมนมอย่างไรให้ปลอดภัย
[สั่งพิมพ์]
โดย:
Akue
เวลา:
2014-4-7 16:10
ชื่อกระทู้:
ศัลยกรรมนมอย่างไรให้ปลอดภัย
ศัลยกรรมนมอย่างไรให้ปลอดภัย
วันนี้ดิววี่กลับมาอีกครั้ง พร้อมกับข้อมูลใหม่ที่มาแบบจัดเต็มและแน่นปึ๊ก เพื่อพี่น้องชาวเพจทุกคนค่ะ โดยวันนี้เราจะเอาข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ประวัติของน้องถุงวิลิโคน ยันถึงวิธีการทำ และดูแลตัวเองมาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจอย่างละเอียดค่ะ
มารู้จักถุงซิลิโคนเสริมน๋ม นมกันเหอะ^^v
หลายคนเคยสงสัยไหมว่าซิลิโคนที่เราๆรู้จักกันว่ามันคือถุงกลมๆแล้วมีเจลเหลวๆหรือของเหลวอยู่ภายในนั้น แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร แต่เดิมใครเป็นผู้คิดค้น ถ้าอยากรู้ตามดิววี่มาเลยค่ะ
ซิลิโคนที่เหล่าคุณหมอนำมาใช้นั้น ต้องเป็นซิลิโคนคุณภาพสูง (Medical grade silicone) เท่านั้นค่ะถึงจะนำมาใช้กับมนุษย์ได้ในวงการแพทย์ได้ โดยเจ้าถุงซิลิโคนเสริมเต้านมนี้ถูกผลิตขึ้นในครั้งแรกในปี ค.ศ.1962 (52ปีที่แล้วเองคร้า) โดยCronin และ Gerow หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาออกมาอีกอย่างน้อย 5 รุ่นด้วยกัน ในปัจจุบันถุงซิลิโคนเสริมเต้านมแบ่งได้ 2 ชนิดค่ะชนิดแรกคือถุงน้ำเกลือ แบบที่สองคือชนิดซิลิโคนค่ะ
115050.jpg
(66.53 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 27)
ดาวน์โหลด
บันทึกไว้ในอัลบั้ม
2014-4-7 16:05 อัปโหลด
จากภาพนะค่ะ ถุงเต้านมเทียมนั้นจะประกอบด้วยสองส่วนค่ะ ส่วนแรกคือเปลือกหรือผิวส่วนนอกที่ทำหน้าที่บรรจุส่วนที่สองนั้นก็คือซิลิโคนเจลหรือน้ำเกลือค่ะ (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่ผลิตค่ะ)
ซิลิโคนเสริมเต้านมVsมะเร็งเต้านม
หลังจากซิลิโคนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนับตั้งแต่การผลิตครั้งแรกนั้น กลุ่มคนที่มีความสนใจอยากจะเสริมบ้างก็เริ่มจะสงสัยในเรื่องความปลอดภัยของมันว่ามีโอกาสที่จะทำให้เป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งอื่นๆตามส่วนต่างๆของร่างกายได้หรือไม่ บ้างก็ว่ามันอาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue disease) แต่หลังจากมีนักวิจัยต่างๆช่วยกันออกตัวช่วยวิจัยในเรื่องนี้กันมากๆเข้า ก็ทำให้น้องซิลิโคนเสริมเต้านม(ที่ได้มาตรฐาน)รอดตัวมาได้ค่ะ
กล่าวคือถ้าคุณหมอเลือกถุงซิลิโคนเต้านมที่ได้มาตรฐานแล้วละก็... รับรองได้ว่าซิลิโคนนั้นจะไม่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งอื่นๆในร่างกายได้ รวมถึงโรคเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อเกี่ยวพันตามร่างกายด้วยค่ะ
โดย:
Akue
เวลา:
2014-4-7 16:14
ซิลิโคนเสริมเต้านมVsมะเร็งเต้านม
หลังจากซิลิโคนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนับตั้งแต่การผลิตครั้งแรกนั้น กลุ่มคนที่มีความสนใจอยากจะเสริมบ้างก็เริ่มจะสงสัยในเรื่องความปลอดภัยของมันว่ามีโอกาสที่จะทำให้เป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งอื่นๆตามส่วนต่างๆของร่างกายได้หรือไม่ บ้างก็ว่ามันอาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue disease) แต่หลังจากมีนักวิจัยต่างๆช่วยกันออกตัวช่วยวิจัยในเรื่องนี้กันมากๆเข้า ก็ทำให้น้องซิลิโคนเสริมเต้านม(ที่ได้มาตรฐาน)รอดตัวมาได้ค่ะ
กล่าวคือถ้าคุณหมอเลือกถุงซิลิโคนเต้านมที่ได้มาตรฐานแล้วละก็... รับรองได้ว่าซิลิโคนนั้นจะไม่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งอื่นๆในร่างกายได้ รวมถึงโรคเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อเกี่ยวพันตามร่างกายด้วยค่ะ
หากได้รับการเสริมเต้านมด้วยซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐานจะเกิดอะไรขึ้น
ถ้าเผลอได้รับเข้ามาในร่างกายแล้ว ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาคือมักจะเกิดการรั่วของสารด้านใน ไม่ก็ถุงรั่วเพราะผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานนั้นเองค่ะ โดยสารที่รั่วจะไปกระตุ้นกลไกการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ทำให้เกิดพังผืดมากขึ้น มีแคลเซียมมาเกาะมากขึ้น ทำให้เต้านมผิดรูปแข็งและเกิดการผิดรูปขึ้นได้
โดย:
Akue
เวลา:
2014-4-7 16:17
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมด้วยซิลิโคนด้อยคุณภาพ หรือไม่แน่ใจว่าด้อยหรือไม่?
สำหรับสาวๆท่านใดที่คิดว่าตัวเองเข้าข่ายในกลุ่มนี้ วันนี้ดิววี่เอาข้อแนะนำและวิธีปฏิบัติมาฝากค่ะ
อย่างแรก ขอให้สาวๆทุกท่านตั้งสติก่อนค่ะ อย่าพึ่งตื่นตกใจไป เพราะอยู่กับเรามานานแล้วทนอีกนิดหน่อยไปก็ไม่ได้แย่กว่าเดิมค่ะ
ต่อมาคือสังเกตและตรวจด้วยตนเอง โดยการยืนดูเต้านมของตัวเองหน้ากระจกว่ามีรูปทรงผิดปกติไหม หรืออาการเจ็บปวดตรงไหนบ้าง จากนั้นค่อยๆใช้มือคลำเต้านมตนเองว่ามีก้อนเนื้อหรือมีบางส่วนของเต้านมที่มีเนื้อแข็งผิดปกติหรือไม่ ต่อมาให้คลำที่รักแร้ในลักษณะเดียวกันที่ทำกับเต้านมเพื่อหาก้อนเนื้อผิดปกติซึ่งอาจเป็นต่อมท่อน้ำเหลือง หรือซิลิโคนเหลวที่รั่วซึมออกมา สุดท้ายคือ ค่อยๆใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือรีดบริเวณหัวนมและลานหัวนมว่ามีของเหลวออกมาหรือไม่ (โดยปกติไม่มีของเหลวใดๆออกมา) ถ้ามีให้สังเกตดูว่าเป็นน้ำนม น้ำเหลือง หรือเลือด
ลำดับขั้นตอนการตัวด้วยตัวเองขั้นสุดท้ายคือ หาเวลาที่สะดวกไปพบศัลย์แพทย์ที่ผ่าตัดให้ ถ้าไม่สามารถหาคนเดิมได้ให้หาคนใหม่ โดยรวบร่วมข้อมูลและปัญหาที่ตนมีให้คุณหมอฟัง จากนั้นคุณหมอก็จะทำการตรวจหน้าอกและรักแร้เพื่อหาภาวะแทรกซ้อน และจะทำการตรวจคัดกรองหรือวินิจฉัยทางรังสี เช่นการทำMammogram , Ultrasound , MRI เป็นต้น
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับสาวๆที่สนใจทำศัลยกรรมนม
สำหรับสาวๆคนใดที่คิดจะทำ เวลาไปทำที่คลินิกหรือโรงพยาบาลให้สอบถามยี่ห้อ ชนิดและขนาดของซิลิโคนเสริมเต้านมเก็บไว้เป็นข้อมูลส่วนตัวก่อน เผื่อในกรณีที่มีพบปัญหาถุงรั่วทีหลังจะได้ให้ข้อมูลแก่หมอที่รักษาได้ ส่วนใครที่ทำมาแล้วและสภาพถุงยังดีอยู่ขอแนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก3เดือนและเข้าตรวจโดยหมอทุก6เดือนถึง1ปีนอกจากนี้ยังควรเข้าตรวจด้วย Mammogram , Ultrasound , MRI ทุกๆ1-2ปี
โดย:
Akue
เวลา:
2014-4-7 16:22
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Akue เมื่อ 2014-4-7 16:28
ก่อนทำควรรู้เรื่องเหล่านี้
การเลือกสถานพยาบาล;
ควรเลือกที่สะอาดได้มาตรฐานดังนั้นควรเลือกโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีมาตรฐาน และใบรับรองคุณภาพ
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนจะเข้ารับการผ่าตัดเสริมเต้านม; เนื่องจากการผ่าตัดเสริมเต้านมนั้นเป็นการผ่าตัดที่เทียบเท่ากับการผ่าตัดใหญ่ ดังนั้นก่อนที่เราจะทำนั้นควรจะทำการบ้านหาข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดก่อนค่ะ
1. คุณอยากได้เต้านมแบบไหน?
ทางที่ดี อยากให้สาวๆทุกคนไปหาที่สงบๆนั่งนึกถึงอกคู่ใหม่ ที่สวยตามที่คุณต้องการดีกว่าค่ะ แต่ถ้าสาวๆท่านใดนึกไม่ออกก็ลองหาภาพอกคู่สวยในดวงใจจากพี่กูเกิ้ลก็ดีไม่น้อยค่ะ แล้วปริ้นออกมาให้หมอได้ดูก็จะดีที่สุดค่ะ
2. ต้องทำความเข้าใจเรื่องข้อดี-ข้อเสียของการผ่าตัดว่ามีอะไรบ้าง?
สาวๆต้องรู้ก่อนว่าหลังการผ่าตัดและพักฟื้นมีการดูแลตัวเองอย่างร้าง การผ่าตำแหน่งไหนดีและเจ็บน้อยที่สุด มีความเสี่ยงอะไรบ้างระหว่างผ่าตัด หลังจากนั้นเอาข้อมูลทั้งหมดมาชั่งน้ำหนักและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยมีศัลยแพทย์คอยให้คำแนะนำว่า “คุ้ม” ที่จะทำหรือไม่?
3. เลือกให้ดีที่สุด
สาวๆควรจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด เพื่อให้การเจ็บตัวในครั้งนี้ได้ผลอย่างที่ตัวเองหวังและมีความเสี่ยงน้อยที่สุดนั้นเองค่ะ
การเลือกศัลยแพทย์; ให้ดูจาก3อย่างนี้ค่ะ ถ้ามีครบก็รับรองเลยค่ะว่าปลอดภัยชัวร์
1. วุฒิบัตรศัลยกรรมตกแต่ง;
นอกจากจะต้องมีใบประกอบโรคศิลป์เพื่อบอกว่าเป็นหมอที่จบมาจริงแล้ว ผู้ที่จะเป็นหมอศัลยกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ยังต้องได้รับการรับรองจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทยโดยจะดูได้จากใบวุฒิบัตรหรืออนุบัตรซึ่งออกโดยแพทย์สภา
คุณสาวๆสามารถตรวจเช็ครายชื่อศัลยแพทย์ตกแต่งได้ที่เว็บไซด์สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย www.plasticsurgery.or.th/ หรือสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย www.surgery.or.th
2. ผลงาน;
ลองศึกษาดูผลงานเก่าๆของหมอที่เราสนใจ เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าตรงกับความต้องการของเราหรือไม่
3. คุณธรรมและจริยธรรม;
ทำได้ก็ต้องบอกว่าได้ ทำไม่ได้ก็ต้องบอกว่าไม่ได้ ไม่มีการยัดเยือดให้ลูกค้าเด็ดขาด
โดย:
kiiz
เวลา:
2014-4-7 20:28
ขอบคุณค๊าาา เป็นประโยชน์มากเลย กำลังคิดจะทำนมพอดี
โดย:
cail
เวลา:
2014-4-8 00:46
ขอบคุณมากค่า
โดย:
Akue
เวลา:
2014-4-8 08:28
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Akue เมื่อ 2014-4-8 11:51
การเลือกชนิดซิลิโคนเสริมเต้านม
ในการผ่าตัดศัลยกรรมนมนั้นซิลิโคนเสริมเต้านมนั้นถึงว่าเป็นนางเอกของงานนี้เลย ดังนั้นสาวๆทุกคนควรศึกษาหาความรู้และปรึกษาหารือกับศัลยแพทย์ตกแต่งให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน เพื่อจะได้สามารถเลือกซิลิโคนที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุดค่ะ เนื่องจากซิลิโคนในปัจจุบันมีหลายแบบและมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนั้นมาดูกันว่าหัวข้อที่ต้องพิจารณามีอะไรบ้างกันดีกว่าค่ะ
• คุณภาพ-ควรเลือกซิลิโคนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรอาหารและยา
• ชนิด-ถุงซิลิโคนแบบน้ำเกลือหรือถุงน้ำเกลือแบบซิลิโคนเหลว
• ขนาด-ขึ้นอยู่กับความต้องการ และความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
• รูปร่าง-แบบทรงกลมหรือหยดน้ำ
• ผิว-ชนิดผิวเรียบหรือผิวทราย
การเลือกตำแหน่งของแผลผ่าตัด
ปัจจุบันตำแหน่งแผลการผ่าตัดมีอยู่4ตำแหน่งค่ะคือแผลผ่าตัดในรอยย่นใต้ราวนม(Inframammary crease) แผลผ่าตัดรอบปานนม (Areola) แผลผ่าตัดที่รักแร้ และแผลผ่าตัดที่บริเวณสะดือ อย่างสุดท้ายไม่ค่อยนิยมเพราะเจ็บมากที่สุดและผลการทำออกมาไม่ดีเท่าไหร่นัก
การเลือกตำแหน่งชั้นลองเนื้อเยื่อที่จะใส่ซิลิโคนเสริมเต้านม
• ใต้เนื้อเต้านมเหนือกล้ามเนื้อ(Subglandular pocket)
• ใต้กล้ามเนื้อหน้าอก(Submuscular pocket)
• ใต้กล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วนและใต้เนื้อเต้านมบางส่วน(Biplanar pocket ,Dual plane)
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดเสริมเต้านม
- แผลเป็นที่มองเห็นได้ชัดหลังการผ่าตัด เช่นแผลเป็น แผลเป็นคีลอยด์(Keloid)
- มีเลือดซึมออกจากแผล หรือหน้าอกเขียวช้ำ
- ภาวะติดเชื้อที่แผลผ่าตัดหรือรอบซิลิโคนเสริมเต้านม
- ความรู้สึกบริเวณหัวนมเปลี่ยนไป เช่นชาที่หัวนมส่วนใหญ่เกิดชั่วคราว แต่มีน้อยรายที่เกิดแบบถาวร ส่วนใหญ่เกิดแบบคนที่เลือกแผลผ่าตัดเข้าทางปานนม
- ภาวะพังผืดหดรัดตัว อาจทำให้เต้านมเกิดการผิดรูปได้ต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขทันที
- ซิลิโคนเหลวหรือน้ำเกลือแตกรั่วออกมาจากถุงซิลิโคน
- การย่นตัวของซิลิโคนทำให้เป็นคลื่นบนผิวหนังเต้านม
- ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ (เพราะในลูกค้าบางรายอาจมีการแพ้ยาสลบ)
- ความเจ็บปวดจากการผ่าตัด ส่วนมากจะค่อยๆหายเองภายในไม่กี่สัปดาห์(ยกเว้นในบางรายที่ใช้เวลานานกว่าปกติ)
- ความเสี่ยงต่อภาวะเลือดในหลอดเลือดดำที่ขาจับตัวเป็นลิ่ม ซึ่งบางรายอาจหลุดไปที่ปอดได้
- มีโอกาสที่ต้องได้รับการแก้ไขใหม่ได้
ปัจจัยอื่นๆที่ต้องมาใช้ในการตัดสินใจ
- ซิลิโคนทุกบริษัทที่ผลิตไม่ได้รับการประกันตลอดอายุการใช้งาน ดังนั้นต้องเตรียมใจเผื่อไว้ด้วยค่ะเผื่อต้องมีการผ่าเปลี่ยนใหม่ในคราวหลัง
- รูปร่างของเต้านมมีโอกาสเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การขึ้น-ลงของน้ำตัวคนที่ผ่านการทำนมมาแล้ว การตั้งครรภ์ ช่วงฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงขณะที่มีประจำเดือนเป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก-หมอกิดากร กิระนันทวัฒน์ แพทย์รามา
- หมอทนงศักดิ์ เอเชียคลินิก
- พี่กูเกิ้ลคร้า
โดย:
yingked
เวลา:
2014-4-8 11:21
อยากทำ อยากทำ
โดย:
toon27
เวลา:
2014-4-8 13:18
ยินดีต้อนรับสู่ ดั้งโด่งดอทคอม (http://dungdong.com:8080/)
Powered by Discuz! X3.2