ดู: 6026|ตอบกลับ: 22
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

กรณีศึกษา การใช้กระดูกหลังหูมาทำจมูก

[คัดลอกลิงก์]
ก่อนอื่นขอเรียนให้เพื่อน ๆ ชาวดั้งโด่ง ได้ทราบว่า
การลงกระทู้ในครั้งนี้ มิได้ ลง เพื่อการโจมตี การทำงาน ของคุณหมอท่านนี้แต่อย่างใด
ซึ่งสาเหตุจะมาด้วยอย่างไร ก้อไม่อาจสรุปได้
เอาเป็นว่า จากกรณีศึกษานี้ ถ้าเป็นประโยชน์ ต่อ สมาชิก และ เจ้าของ Case ได้บ้าง
ก้อ จะดี ยิ่งครับ

เจ้าของ Case เป็น เพื่อนผมครับ ทำจมูก โดยใช้ กระดูกหลังหูมาทำ
โดยทำ กับ     หมอ ค  ในราคา 30,000 บาท
หมอ ค ได้ใช้กระดูก หลัง หู จากทั้ง 2 ข้าง ของ คนไข้
ในระหว่างการทำ เมื่อได้ กระดูกหูทั้ง 2 ข้าง แล้ว โดยปกติ จะต้องทำ การ Drain เลือด
ให้ออกให้หมด แต่ มีการ ผิดพลาด ในส่วนนี้
เจ้าของ Case ได้ยินมาจาก พยาบาล ตอน รออยู่ หน้าห้อง หลังจากไป Check 1เดือน
เจ้าของ Case ได้ทำการสอบถามจาก หมอ ค คุณหมอ ได้ให้คำตอบว่า ต้องฉีดยาเพิ่ม
มีค่าใช้จ่าย เพิ่ม แต่ โดยปกติ อีกไม่นาน ก้อจะหาย
จากวันนั้น ถึงวันนี้ ประมาณ 8 เดือน ก้อไม่ได้ดีขึ้น
และยังต้องไปแก้จมูกอีกเนื่องจาก การเสริมปลายจมูกยาว และคด
แน่นอน ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 28,000 บาท
ปัจจุบัน เจ้าของ Case จะต้อง ไปหาหมอ ท่านอื่น เพื่อ ทำการ ฉีดยา ให้ยุบลง
ซึ่งก้อไม่ได้มีการรับรองว่าจะหายขาด
จากกรณีศึกษานี้ อยากสอบถามถึงผู้รู้ว่า
ในความเป็นจริง เป็นเพราะ ความผิดพลาด ในการผ่าตัด หรือ เกิด จาก ความผิดปกติของ
เจ้าของ Case เอง ที่ผม ต้องบอกแบบนี้ เพราะไม่อยากชี้เฉพาะ ว่า เป็นความผิดของหมอ
อย่างเดียว และ ถ้ากูรู หรือ สมาชิก ท่านใด ทราบวิธี รักษา แผลเป็นที่เป็นรอยนูน ที่นอกจาก
การตัดชิ้นเนื้อ (หมอบางท่านได้บอกว่า การตัดก็ไม่ได้หมายความว่า จะหายขาด) และการฉีดยา แล้ว จะเป็นความกรุณาเป็นอย่างยิ่ง กับเจ้าของ Case

case study.jpg (39.3 KB, ดาวน์โหลดแล้ว: 9)

case study.jpg
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2009-8-12 23:10:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ไม่รู้ผิดห้องหรือป่าว
ถ้าผิดห้อง
รบกวน Admin ด้วยนะครับ
อารายผิดปรกติอะครับ หูหรือว่าจมูก อะครับ
โอ้ยความเสี่ยงสูง
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2009-8-12 23:33:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อารายผิดปรกติอะครับ หูหรือว่าจมูก อะครับ
ต้นฉบับโพสโดย HongRim เมื่อ 2009-8-12 23:28


จิง ๆ ทั้งหูและ จมูก ครับ
แต่จากการแก้ครั้งล่าสุด
จมูกดูดีขึ้น
แต่ แผลเป็นรอยนูนที่หูยัง เหมือนเดิม
คีลอยแผลเป็นที่หู อืมๆ เข้าใจและ
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2009-8-12 23:38:43 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คีลอยด์??
ต้นฉบับโพสโดย plaa เมื่อ 2009-8-12 23:30


ครับคุณปลา คีลอยด์
ในจุดนี้ คุณปลาคิดว่า
เกิดจากความผิดพลาด ในการผิดพลาด ตอน Drain เลือดออกในขณะทำการผ่าตัด
หรือ เป็นเพราะ ลักษณะ เนื้อของเจ้าของ Case เอง
หมอ ค อธิบาย ว่า เป็นเพราะ เจ้าของ Case เอง คนอื่น ไม่เป็น
แต่ก่อนหน้านี้ เจ้าของ Case ก้อทำการศัลยกรรม หลายอย่าง แต่ไม่เคยมีปัญหา
ในเรื่อง คีลอยด์ เลยครับ
คีลอยด์ มีโอกาสเกิดจากอาหารที่ทานระหว่างพักฟื้นได้เหมือนกันนะ  มันมีโอกาสเปนได้ทั้ง 2 ทาง ทั้งจากเราและหมออ่ะค่ะ  แต่ถ้ามีปัญหาเกิดแบบนี้ หมอไม่น่าจะเก็บค่าฉีดคีลอยด์นะ มันเปนความรับผิดชอบร่วมนะ
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2009-8-12 23:59:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อืม...เจ้าของ Case สงสัยอยู่เหมือนกัน ครับ ว่า ปัญหา ส่วนนึง มาจากการทานอาหาร ระหว่างพักพื้น หรือ เปล่า ส่วนเรื่องการดูแลหลังมีปัญหา ไม่ใช่แค่เรื่อง เก็บค่า คีลอยด์ นะครับ ยังมีปัญหาว่า ใส่กระดูกหลังหูที่ปลายจมูกยาวและ คด ต้องแก้ใหม่ มีปัญหาถึงขนาดบางหมอไม่แก้ให้ เพราะ เป็นงานยาก แนะนำให้กลับไปแก้ที่ หมอ ค เหมือนเดิม
สำหรับตัว คีลอยด์ ตอนนี้ เป็นปัญหา เหมือนกัน เพราะ ตอนนี้ ที่นี่ หนาว พอสมควร ทำให้ แผล นูน และ แข็ง รู้สึกเจ็บ
จากกรณีศึกษานี้ อยากให้สมาชิก ศึกษา ข้อมูล เยอะ ๆ ก่อน จะตัดสินใจ ทำกับหมอท่านใด และ ถ้าถูกใจแล้ว แต่จำเป็นต้องรอ ก็รอเถอะครับ
จะได้ไม่มีปัญหาตามมา
น่ากลัวจังเลยนะคะ ตอนแรกกะจะไปทำ แต่สงสัยคงต้องคิดดี ๆ แล้วล่ะ ขอบคุณมากนะคะ สำหรับกรณีศึกษานี้ ขอให้เพื่อน จขกท อาการดีขึ้นไว ๆ นะคะ
อ้อ แล้วตกลงการใช้กระดูกที่หูมาเสริมจมูก มันดีไหมค่ะ อย่างรู้มากอะ เพราะว่าคิดว่าจะไปทำ แต่ชักไม่แน่ใจละ  ใครรู้ ช่วยตอบทีนะ ค่ะ
ขึ้นอยู่กับความประณีตในการเย็บแผลของหมอ แล้วก็การดูแลรักษาของเราด้วยนะครับ
ของผมทำมาได้เดือนหนึ่งแล้ว ตอนนี้แทบไม่เห็นรอยแผลที่หลังหูเลยครับ
คีลอยด์  มันเป็นยังไงครับ ฟังแล้วไม่กระจ่าง
คีรอยด์คือการซ่อมแซมของแผลที่ผิดปกติเป็นแผลเป็นชนิดนึงแต่ออกมาเกินขอบเขตของแผลค่ะ กลายเป็นแผลเป็นที่ใหญ่มาก บางรายก็ฝหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่ทุกคนค่ะที่จะเป็นคีรอยด์ แต่คนที่เคยเป็นคีรอยด์แล้วก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นได้อีกค่ะ
ผมใช้กระดูกหลังหูมาทำนะ แผลหาย แต่ยังเสียวแปลบๆที่หูอยู่นะ ตอนนี้ทำมาประมาณน่าจะครบ 6 เดือนแล้วครับ
บทความสุขภาพ


แผลเป็นคีลอยด์

ถาม : เป็นคีลอยด์แท้ๆ แต่ทำไมเลือกวิธีรักษาที่หมอคนอื่นๆไม่ทำกัน
ตอบ : เวลาพูดถึงคีลอยด์ ใครๆก็ไปเปิดอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับมันได้ครับว่าเกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ควรปฏิบัติตัวอย่างไร แต่สิ่งที่เวปหลายๆแห่งลืมไปก็คือ ลืมบอกผู้อ่านไปว่าคีลอยด์คืออะไร
คีลอยด์ก็คือแผลเป็นชนิดหนึ่ง แต่ต่างจากแผลเป็นตรงที่ แผลเป็น(Scar) เกิดจากบาดแผล และเมื่อหายแล้วจะเหลือร่องรอย"ภายใน"บาดแผลเดิม ส่วนKeloidคีลอยด์ เป็นแผลเป็นที่จะเติบโต"ออกจาก"แนวขอบแผลเดิม สีมักจะเป็นไปทางแดงอมน้ำตาล
วิธีการรักษามีให้เลือกคล้ายๆกัน แต่ว่าผลที่ได้แตกต่างกันมาก และคนส่วนหนึ่งยังเข้าใจผิดว่าแค่แผลเป็นนูนๆก็คือคีลอยด์ เมื่อไปขอความเห็นในการรักษาโดยหมอคนนึงเห็นแผล ส่วนอีกคนไม่เห็นแผลแต่ได้ฟังคำบอกเล่าว่าเป็นคีลอยด์ ก็จะได้คำตอบที่ต่างกันชวนให้งง

ถาม : คีลอยด์เกิดจากอะไร ได้ยินว่าเกิดจากหมอฝีมือไม่ดี
ผมเคยตรวจร่างกายผู้ป่วยและไปเห็นแผลผ่าตัดที่เป็นลักษณะคีลอยด์ ก็เลยลองถามว่าเกิดได้อย่างไร ได้ความว่าหลังผ่าตัดและแผลแห้งดีแล้วสองสามเดือน แผลเป็นก็เริ่มนูนขึ้น และก็มีคีลอยด์ขึ้นมา ผู้ป่วยยังเสริมอีกในทำนองว่าหมอที่ผ่าตัดควรจะรับผิดชอบที่ฝีมือไม่ดี....
นี่เป็นหนึ่งในหลายๆรายที่คิดว่าคีลอยด์เกิดจากหมอทำ ทั้งที่บางคนมีคีลอยด์ที่บริเวณอื่นมาก่อนที่จะมามีแผลผ่าตัด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดคีลอยด์ได้แก่
1. ลักษณะของแต่ละคน เรียกง่ายๆว่ากรรมพันธุ์ กรรมใครกรรมมัน
2. ตำแหน่งที่เป็นแผล โดยเชื่อว่าถ้าเป็นตำแหน่งที่มีความตึงของผิวมาก ก็จะเป็นคีลอยด์ได้ง่าย เช่นหน้าอก หลัง หน้าท้อง
3. ชนิดของแผล ถ้าเป็นแผลที่ได้รับการรบกวนน้อยก็จะเกิดได้ยาก ในขณะที่หากแผลถูกรบกวนหรือระคายเคืองบ่อยๆก็จะเกิดได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น การเกามากๆ แผลไหม้ แผลแมงกะพรุน(มีการอักเสบเป็นระยะๆ) แผลชนิดใดๆที่ติดเชื้อ
การเกิดก็ไม่ได้เกิดง่ายๆ มักจะมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้นจะไปโทษว่าเป็นความผิดใครก็เห็นจะไม่ได้

ถาม : ป้องกันได้ไหม รู้ได้อย่างไรว่าใครจะเป็น
การจะรู้ล่วงหน้าว่าเกิดแผลแล้วจะมีคีลอยด์หรือไม่ ก็คงต้องดูว่า เคยมีคีลอยด์มาก่อนหรือไม่ และในบริเวณที่เคยมีแผลเคยมีคีลอยด์ขึ้นไหม
การป้องกันที่จะทำได้ดีที่สุดคือระวังไม่ให้เกิดแผลโดยไม่จำเป็น และต้องระวังอย่างยิ่งโดยเฉพาะในคนที่เคยเป็นคีลอยด์มาก่อน หากเกิดแผลขึ้นมาต้องรีบรักษาให้หาย ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อและหลีกเลี่ยงการแคะแกะเกา
เช่น หากมีคีลอยด์ที่แขน เดินไปขอตัดขี้แแมลงวันที่หน้าอก หมอคนไหนเห็นก็คงแนะว่าไม่ทำน่าจะดีกว่า เพราะถ้าเป็นคีลอยด์ขึ้นมาก็จะน่าเกลียดยิ่งกว่าของเดิม .... หากยืนยันให้ทำ และหลังทำยังปล่อยปละละเลยไปแคะแกะเกา แบบนี้ก็คงไม่วายมีก้อนคีลอยด์โตขึ้นมาภายหลัง
ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณเองคือ ระวังไม่ให้เกิดแผล และเมื่อเกิดแผลต้องรักษาแผลดีๆ ไม่ไปยุ่งกับแผลมาก

ถาม : รักษาอย่างไร
หลายๆคนที่เกิดมีคีลอยด์ขึ้นมา ก็คงอยากรู้ว่าจะรักษาอย่างไร ... แผลเป็นชนิดนี้มีวิธีการรักษาต่างๆกัน
0. ผ่าตัดมันออกไป .... ล้อเล่นครับ เพราะว่าแผลเป็นคีลอยด์ "ห้าม"ตัดทิ้งเฉยๆอย่างเด็ดขาด เพราะสุดท้ายจะเกิดแผลเป็นคีลอยด์ที่สดใหม่ใหญ่เบ้อเริ่มกว่าเดิม
เอาให้ครับ วิธีรักษาคีลอยด์ที่ใช้กันหลักๆ ได้แก่

1. ฉีดสเตียรอยด์ ที่นิยมใช้ก็คือการฉีด Triamcinolone acetonide เข้าไปในตัวkeloid ผลที่ได้คือตัวkeloidจะยุบลงในบริเวณนั้นๆ
- ข้อดีคือ ง่าย หมอส่วนใหญ่ทำได้ หาได้สะดวก ราคาไม่แพง
- ข้อด้อยคือ ฉีดครั้งเดียวไม่ได้ผลต้องฉีดหลายครั้ง ช่วงที่เริ่มยุบจะยุบเป็นจุดๆดูไม่งามตา ถ้ายารั่วเข้าสู่ผิวปกติผิวหนังส่วนนั้นจะยุบบุ๋มตัวลง

2. เลเซอร์ เอาพลังงานไปทำลายเนื้อคีลอยด์ให้มันไม่โต
- ข้อดีคือ ผลที่ได้มักน่าพอใจกว่า
- ข้อด้อยคือ แพงกว่า ต้องการเครื่องมือและหมอที่ใช้เป็น

3. แผ่นเจล,แผ่นยา,ครีม รักษาคีลอยด์ มีขายตามท้องตลาดและร้ายขายยาขนาดใหญ่
- ข้อดีคือ ทำเองก็ได้ไม่ต้องง้อใคร ไม่เจ็บตัวเหมือนวิธีอื่น
- ข้อด้อย มีราคาพอสมควร .... ได้ยินมาว่าผลที่ได้มักไม่น่าพอใจ(แต่ส่วนนี้ผมไม่ยืนยันเนื่องจากยังไม่เคยใช้)

4. ฉายแสง แต่ว่าไม่ค่อยเห็นใช้ในการรักษาคีลอยด์ ส่วนใหญ่มักเห็นเวลาป้องกันมากกว่า

ทั้งนี้โรคนี้ไม่มียากินเพื่อรักษาเป็นการเฉพาะ(ได้คำตอบแล้วสำหรับคนที่จะถามว่ากินยาหายไหม หรือไปกินสมุนไพรยาโบราณจะหายไหม) อาจจะมีการจ่ายครีมทาเพื่อลดการอักเสบแก้คัน และยากินแก้คัน เพื่อชะลอการโตและไม่ให้มีอาการคัน เพราะการเกาคีลอยด์ เป็นการกระตุ้นให้มันมีขนาดใหญ่โตขึ้น


ถาม : เป็นคีลอยด์ง่าย แต่ว่ามีความจำเป็นต้องผ่าตัด จะทำอย่างไรดี
ปกติหากมีแผลคีลอยด์ให้เห็น หมอที่ไหนๆก็มักจะไม่อยากทำการผ่าตัดทางด้านความงามให้ เพราะโอกาสที่จะเกิดแผลคีลอยด์ซ้ำจะมีสูง แต่บางครั้งการผ่าตัดบางอย่างก็มีความจำเป็น ดังนั้นหากจะทำการผ่าตัดและคุณรู้ตัวว่าเป็นคีลอยด์ ก็ควรบอกหมอที่จะลงมือผ่าตัด หากไม่ลำบากจนเกินไป ก็จะมีวิธีที่จะจัดการแผลหลังการผ่าตัดเพื่อลดอัตราการเกิดคีลอยด์หลายวิธีครับ ตั้งแต่วิธีการเย็บแผล วัสดุที่ใช้ปิดแผล อาจฉีดยาเข้าไปในแผลหลังผ่าเสร็จใหม่ๆ
หรือในกรณีที่เป็นการผ่าตัดที่เร่งด่วนเกินกว่าจะมานึกถึงความงาม หลังการผ่าตัดสองสามวัน อาจจะนำไปฉายแสงเฉพาะบาดแผล ก็สามารถช่วยลดการเกิดคีลอยด์ได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซนต์ในทางการแพทย์ครับ ถึงจะทำอย่างเต็มที่ก็มีโอกาสเกิดได้อยู่ดี

ถาม : รักษาที่ไหนดี ต้องเป็นแพทย์เฉพาะทางผิวหนังหรือไม่
ขึ้นอยู่กับความจำเป็นครับ ถ้าคุณคิดว่าแผลเป็นนี้สะดุดตามาก ต้องการให้หายขาด ดูแล้วส่งผลต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานมาก ก็แนะนำให้ไปรักษากับหมอเฉพาะทางด้านผิวหนัง (Dermatologist)
ถ้าแค่รำคาญเพราะมันเจ็บมันคันเป็นประจำ แต่ไม่ได้สนใจเรื่องความงามมากนัก ก็สามารถไปรักษากับหมอทั่วไปก็ได้ครับ (การรักษาหลักก็คือ ยาทาแก้คัน+ยาฉีดเข้าแผล) ปกติฉีดแล้วก็มักยุบ เหลือเป็นรอยให้เห็นบ้าง

.... ส่วนสำหรับคนที่จะถามว่า สถานเสริมความงาม "xxxคลินิก" "xxxxโพลีคลินิก" "xxxxxxClinic" ที่เปิดตามท้องตลาดทั่วไปสามารถรักษาได้หรือไม่ เรื่องนี้ผมไม่ทราบนะครับ (จริงๆก็ได้แหละ เพราะหมอจบใหม่ๆก็ทำกันได้ทุกคน) คงต้องขึ้นกับความเชื่อมั่นที่คุณได้ยินกันมา และหมอแต่ละคน เพราะในนั้นบางส่วนจะจบ พบ. (แพทยศาสตร์บัณฑิต) ไม่ได้จบเฉพาะทางมาทางผิวหนัง แต่อาจจะได้รับการอบรมทางด้านผิวหนังมาโดยเฉพาะมาระยะหนึ่ง
ดังนั้นถ้าต้องการรักษากับหมอที่จบทางผิวหนังมาโดยเฉพาะ ก็ถามก่อนด้วยครับ (ผมคิดว่าผลการรักษาคงไม่ต่างกันมากมายนัก แต่ว่าหลายครั้งทีเดียวที่เวลาผลที่ได้ไม่เป็นไปตามหวัง มักจะมีการหยิบยกเอาเรื่องที่ไม่ได้จบผิวหนังมาต่อว่ากันทั้งที่จริงๆไม่ใช่ประเด็นเลย)

สรุปแล้ว สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับแผลเป็นคีลอยด์คือ
1. หลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลทุกชนิด ที่เกิดจากการตั้งใจ เช่นการสักหรือเจาะหูอย่างไม่จำเป็น
2. หลีกเลี่ยงนิสัยการแคะแกะเกาตามร่างกาย โดยเฉพาะการบีบสิว
3. เมื่อเกิดบาดแผลขึ้น ควรจัดการให้หายเร็วๆ
4. ถ้าคุณมีคีลอยด์อยู่แล้ว ยิ่งต้องระวัง และบอกคนที่จะมาทำให้เกิดแผลบนตัวคุณให้ระวัง ไม่ว่าจะเป็นหมอ หรือคนสักยันต์
5. ถ้ามีคีลอยด์แล้วไม่อยากรักษา ก็ไม่ต้องไปยุ่งกับมัน
ครับ

ที่มา......http://www.kkph.go.th/content//view.php?No=43
คีลอยด์  Keloid

ลักษณะทั่วไป
คีลอยด์ (แผลปูด) หมายถึง แผลเป็นที่ปูดโปน มีขนาดใหญ่กว่าแผลเป็นธรรมดา เป็นภาวะ
ที่พบได้บ่อย เฉพาะคนบางคน คนที่เคยเป็นคีลอยด์ เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น ก็มักจะกลายเป็น
คีลอยด์ได้อีก

สาเหตุ
เกิดจากการงอกผิดปกติของเนื้อเยื่อผิวหนังส่วนที่เป็นแผล อาจเกิดกับบาดแผลได้ทุกชนิด
เช่น บาดแผลผ่าตัด บาดแผลที่เกิดจากได้รับบาดเจ็บ บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ถูกแมง
กะพรุนไฟ รอยฉีดวัคซีนบีซีจี รอยสิว เป็นต้น เมื่อแผลหายใหม่ ๆ อาจมีลักษณะเป็นปกติธรรมดา
แต่ต่อมาอีกหลายสัปดาห์จะค่อย ๆ งอกโตขึ้น จนเป็นแผลปูด บางครั้งคีลอยด์อาจเกิดจากแผล
เป็นธรรมดาที่มีอยู่เดิมมานานหลายปี หรือ เกิดในบริเวณที่ไม่มีรอยแผลเป็นมาก่อนก็ได้

อาการ
มีลักษณะเป็นก้อนเนื้องอก แข็งและหยุ่น ๆ คล้ายยาง เป็นรูปไข่แผ่ออกคล้ายก้ามปู มีสีแดงหรือ
ชมพู ผิวมัน อาจมีอาการคัน และกดเจ็บ ก้อนอาจคงที่ หรือค่อย ๆ โตขึ้นก็ได้ มักไม่หายเอง มัก
พบเพียงหนึ่งก้อน แต่ก็อาจพบหลายก้อนได้ สามารถพบได้ทุกแห่งของร่างกาย แต่จะพบมาก
บริเวณหน้าอก หลัง ไหล่ แขน และขา

การรักษา
ถ้าขึ้นในบริเวณที่มิดชิด หรือไม่มีลักษณะที่น่าเกลียด ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างไร นอกจาก
ถ้ามีอาการคัน ให้ทาด้วยครีมสเตอรอยด์
แต่ถ้าก้อนโตน่าเกลียด หรือทำให้ขาดความสวยงาม อาจต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตอรอยด์
เช่น ไตรแอมซิโนโลน อะเซโทไนด์ (Triamcinolone acetonide) เข้าไปในแผลคีลอยด์ อาจช่วย
ให้แผลเป็นฝ่อเล็กลงได้บ้าง ในรายที่มีขนาดใหญ่ อาจต้องทำการผ่าตัดแล้วฉีดยานี้ เมื่อแผลเริ่ม
หายภายใน 1-2 สัปดาห์ นอกจากนี้อาจรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น รังสีรักษา (ฉายรังสี) การผ่าตัด
ด้วยความเย็นที่เรียกว่า ไครโอเซอเจอรี (Cryosurgery)

ข้อแนะนำ
1. คีลอยด์เป็นเนื้องอกธรรมดา ไม่ใช่มะเร็งหรือเนื้อร้าย และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างไร
2. คีลอยด์ จะเกิดขึ้นกับเฉพาะคนบางคนเท่านั้น ซึ่งผิวหนังจะมีธรรมชาติแตกต่างไปจากคนปกติ
เมื่อมีบาดแผล ก็จะทำให้เกิดเป็นแผลปูด ทั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการกินของแสลง (เช่น เนื้อ ไข่) ดังที่
ชาวบ้านเข้าใจกันแต่อย่างไร
3. ห้ามรักษาคีลอยด์ ด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว (โดยไม่ฉีดยาสเตอรอยด์ตามใน 1-2 สัปดาห์
ต่อมา) เป็นอันขาด เพราะแผลเป็นที่เกิดขึ้น จะกลายเป็นคีลอยด์ที่ใหญ่ขึ้นไปกว่าเดิมได้อีก
4. ควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้เกิดแผลเป็น เช่น การบีบ หรือแกะสิว

รายละเอียด
แผลปูดไม่ใช่เกิดจากการกินของแสลง

   
การเสริมจมูกหรือการแก้ไขตกแต่งจมูกให้สวย หรือแก้ส่วนที่บกพร่องให้ดีขึ้นนั้น การใช้เนื้อเยื่อของเรามาใช้หรือวัสดุที่ไกล้เคียวเนื้อเยื่อเรานั้นดีที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกระดูกอ่อนซึ่งเอามาได้หลายที่ ที่ใช้กันบ่อยๆโดยเฉพาะมาแกปลายนั้นเอามาจากหูบ่อย ที่อื่นก้อกระดูกอ่อนตรงซี่โครง หรือเลาะจากในแกนของจมูกของเรา อันนี้แล้วแต่เทคนิคของหมอแต่ละคน ถามว่าทำไมบ้านเรายังทำกันน้อยทั้งที่เทคนิคแบบสิลิโคนแข็งๆแทบจะไม่เห็นในเกาหลี ใต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่นหรือ เซี่ยงไฮ้  สถานที่ทำศัลยกรรมกันเยอะ เห็นคนไทยทำ เขาก้อหัวเราะ บอกเออมันง่ายดีนะ แต่มันไม่พอในบ้านเขา เดี๋ยวนี้มีการใช้กระดูกอ่ออนซี่โครงแบบสำเร็๗เป็นแท่งๆที่ผ่านการอบ นึ่งฆ่าเชื้อจนปลอดภัย ผลิดจากอเมริกา FDA approved แต่ยังไม่ใช้บ้านเรา ใช้มากที่เกาหลี และใต้หวัน ราคาแพงหน่อย แต่ไกล้เคียงกระดูกอ่อนจริง นิ่ม และเป็นธรรมชาติ   หรือแม้แต่เนื้อเยื่อไขมันจากส่วนต่างๆของร่างกายก็อปลอดภัย ขึ้นกับว่าส่วนไหนขาด ที่ต้องแก้ หมอจะเป็นคนพิจารณาเอง
  ปัญหาในการเอาเอาเนื้อเยื่อพวกนี้มาใช้ มันต้องทำจากคนที่มีความรู้ดีจริงๆ ตัดมาได้ แต่เอามาใข้ ประกอบไม่เป็น ไม่รู้วางอย่างใร เปิดจมูกตรงไหน ก็ไม่มีประโยชน์ ที่สำคัญมันยุ่งยาก ราคาแพงขึ้น หมอบางคนก้อเลยเลือกทางเดินง่ายๆประกอบกับบ้านเรายังไม่แพร่หลาย แล้วใครที่จะทำได้ดี ตอบก้อคนที่รู้จริง ส่วนใหญ่หมอศัลยกรรมตกแต่งทุกคน จะผ่านการฝึกฝน ทำการแก้ไขจมูกเด็กๆหรือคนที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งพวกนี้แทบจะไม่มีกระด็กอ่อนตรงปลายจมูกหรือด้านที่เป็น การแก้ไขโดยคนที่ทำตรงนี้บ่อยๆเยอะๆ จะทำได้ดี คนที่ไม่เคยทำเลยหรือทำน้อยก้อออกมาไม่ดี คราวนี้เรื่องแผลที่หูหรือที่ต่างๆ ก้อเป็นจากเทคนิคอีกนั่นแหละเป็นสำคัญ การเปิดแผล การเย็บแผล การใส่เดรนระบายเลือดนั้นแทบจะไม่เห็นใครทำ แต่จะมีเทคนิคของแต่ละคน ถ้าแผลดีไม่อักเสบ ทุกอย่างก้อปกติ แต่แผลทุกทึีในร่างกายกว่าจะหายดี มีเจ็บๆตึงๆได้ อาจนานถึง181เดือนตามทฤษดีการหายของแล เป็นเรื่องปกติ การนวดๆคลึงๆ จะทำให้โครงสร้างส่วนที่เป็นแผลกลับสู่ปกติได้เร็วขึ้น  แต่เนื้อเยื่อแต่ละคนนั้นตอบสนองต่อการหายของแผลไม่เหมือนกัน บางคนหมอทำทุกอย่างดีหมด แผลก็หายดีภายในกำหนดแต่เป็นคีลอยด์ คือแผลเป็นนูน นั้น ส่วนใหญ่เป็นจากเนื้อเยื่อในร่างกายเรามีเซล ตัวนึ่งที่ไวต่อการตอบสนองการหายของแผล เซลนี้จะเยอะมากกว่าปกติ เมื่อเวลาผ่านไปถ้าปกติ เซลตัวนี้จะลดลง แต่ในคีลอยด์มันไม่ลด จะทำให้มีลักษณะแผลนูนไปเรื่อยๆ  ขอบแผลพวกนี้จะนูนเลยขอบแผลเดิม เมื่อเวลาผ่านไป เต็มที่คือ18เดือนตามทฤษฎีแล้วยังไม่กลับมาหรือขนาดแผลไม่กลับมาปกติ ร่วมกับอาจมีอาการคัน เจ็บบ้าง อันนี้ต้องแกไขรักษาซึ่งก้อมีหลายวิธิอีก แต่ที่สำคัญที่สุด คือหมอับคนไข้แหละ เพราะการเป็นคีลอยด์นั้นส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม มีพ่อแม่พี่น้องเป็น หรือเคยมีแผลตอนเด็กๆหรือปลูกฝีที่ไหล่แล้วนูนง่าย อันนี้ตัวคนไข้รู้อยู่แล้ว ต้องบอกหมอ หมอก้อต้องซักเพื่อจะได้วางแผนถูก ว่าจะทำอย่างใร มีวิธีป้องกันดูแลอะใรเป็นพิเศษไหม  แม้แต่เป็นแล้วจะไปรักษา คือถ้าใหญ่มาก และมีอาการอื่นเช่นคันมาก เป็นแผล ก้อคงเลือกศัลยกรรมอีก แต่ก้อต้องสำคัญทั้งเทคนิคหมอ การดูแลหลังผ่าดัของคนไข้อีก ถ้าไม่ดีก้อเป็นอีก  ฉนั้นบางทีก้อเป็นยาขมของหมออีก ปฎิเสธไม่ทำ ทำไม่เป็น หรือเลือกฉีดยา ง่ายๆ แล้วแต่หมอแต่ละคน บางอย่างที่รักษาคีลอยด์ไม่ว่า เลเซอร์ ฉายรังสีขนาดต่ำๆนั้น ก้อต้องร่วมกับวิธีอื่น และยังไม่ใช่ standard ในปัจจุบัน
   ที่เขียนนี่เพราะมีน้องเปิดให้อ่าน ก้อเลยคิดว่าเราก้อไม่รู้ใครจะเขียนอะใรก้อได้ คนที่มาอ่านถ้าเชื่อก้อเสพไป จริงๆก้อมีเยอะนะโดยเฉพาะโลกไซเบอร์ มันไม่standard บริโภคได้แต่ต้องถามผู้รู้อีก ไม่งั้นนักเรียนแพทย์หรือการสอนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ต้องใช้ตำรา ไม่ต้องเข้าน้ำข้ามฟ้าไปเรียนกันไกลๆ ใช้ googleก้อรู้หมด เจ้าของเวบเขาก้อเขียนบอกแล้วให้เลือกบริโภค ที่เขียนจะได้เป็นวิทยาทาน ได้รู้กันมากขึ้น แต่ความรู้ไม่หมดแค่นี้นะ อันนี้แค่กรณีศึกษา
              หมอศัลยกรรมตกแต่งคนหนึ่ง
ขอบคุณมากๆที่แชร์
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ที่ webdungdong@gmail.com|บริษัท ดั้งโด่งดอทคอม จำกัด|ติดต่อลงโฆษณา| ดั้งโด่งดอทคอม@2020

Copyright © 2001-2013 Comsenz Inc.   All Rights Reserved. Powered by Discuz! X3.2 R20140618, Rev.27, Thzaa City 1 Style

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้