|
– ใช้คลื่นความถี่วิทยุรักษาเยื่อบุจมูกบวม (Radiofrequency (RF) for inferior turbinate reduction
เป็นรูปแบบการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหา อาการคัดจมูก คัน จาม น้ำมูกไหลเรื้อรัง เเละมีเสมหะลงคอ ที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา การใช้ยาพ่นจมูก หรือการปฎิบัติตนพื้นฐานเพื่อลดอาการ การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรักษาจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยรักษาอาการเหล่านี้ได้ การรักษาด้วยวิธีการใช้คลื่นความถี่วิทยุที่บริเวณเยื่อบุจมูก จะส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณของเยื่อบุจมูกเกิดการหดตัวลง ทำให้หลังการรักษาเเล้วจะสามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น จมูกโล่งมากขึ้น เเละในส่วนของอาการคัดจมูก คัน,จาม,น้ำมูกไหล ลดลง อีกทั้งการรักษายังมีขนาดของแผลเพียงเท่ารูเข็มไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก มีอาการปวดหรือเจ็บน้อยจากการรักษา
– รักษาด้วยการฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน (Pillar)
การรักษาด้วยการฝังพิลลร์ในเพดานอ่อน เป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน เเละ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่รุนเเรงมากนัก ซึ่งหลายๆคนอาจตกใจเเละกลัวกับชื่อของการรักษาในรูปแบบนี้ เเต่ที่จริงเเล้วการรักษาในรูปแบบนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเเถมยังมีข้อดีในการรักษาอีกด้วย
กระบวนการรักษาในรูปแบบนี้จะเป็นการนำพิลลาร์(Pillar) ที่ทำจากวัสดุโพลิเอสเตอร์ที่มีสัมผัสอ่อนนุ่ม เเละเป็นวัสดุทางการเเพทย์ชนิดที่สามารถใส่ในร่างกายของมนุษย์อย่างถาวรได้ ซึ่งเมื่อทำการฝังเข้าไปในเพดานอ่อนเเล้ว จะช่วยพยุงกล้ามเนื้อเพดานอ่อนไม่ให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบรอบๆบริเวณเพดานปาก ทำให้ทางเดินหายใจขยายกว้างมากขึ้น อาการกรนลดน้อยลง อีกทั้งหลังการรักษาผู้รับการรักษาจะไม่รู้สึกถึงความไม่สบายช่องปาก ในขณะรับประทานอาหารหรือพูดคุย สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติโดยที่ไม่รู้สึกถูกรบกวน เเละยังมีข้อดีในการรักษาคือ มีอาการเจ็บที่น้อยเเละมีบาดเเผลน้อยกว่าการรักษาในรูปแบบการรักษาด้วยเลเซอร์นอนกรน หรือ รูปแบบการใช้คลื่นความถี่วิทยุ
– รักษาด้วยการบำบัดกล้ามเนื้อบนใบหน้าเเละทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)
เป็นวิธีรักษานอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพียงวิธีเดียวที่รักษาปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการฝึกบำบัดกล้ามเนื้อบนใบหน้าเเละทางเดินหายใจ โดยจะมุ่งเน้นไปในส่วนของการเสริมสร้างความเเข็งแรงให้กับ กล้ามเนื้อลิ้น เพดานอ่อน ขากรรไกร เเละทางเดินหายใจ เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านี้เกิดความเเข็งแรงเเละสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติเเม้ในขณะหลับ ป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อภายในช่องปากเกิดการหย่อนคล้อยหรือคลายตัวลงปิดกั้นทางเดินหายใจในขณะหลับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการนอนกรนเเละภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
|
|