ดู: 934|ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

How to รับมือลูกน้อยฟันเก ฉบับไม่ถอนฟัน

[คัดลอกลิงก์]


จะรับมือยังไงหากลูกน้อยเกิดปัญหาฟันเกขึ้น ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละกรณีแต่ละอาการ ซึ่งหนึ่งในการรักษาที่น่ากลัวและอาจไม่ถูกใจคุณพ่อคุณแม่หลายคนหรือแม้แต่ตัวลูกน้อยเองคงหนีไม่พ้นการ “ถอนฟัน”

เเต่รู้กันไหมว่าปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติไม่ได้มีวิธีการรักษาที่น่ากลัวด้วยการนำฟันออกแบบนั้นเพียงทางเดียวยังมีวิธีการรักษาในรูปแบบอื่นๆที่สามารถทำการรักษาได้ และที่สำคัญยังมีวิธีการรักษาปัญหาอาการฟันเรียงตัวผิดปกติของเด็กๆที่สามารถเริ่มรักษาได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติที่รุนแรงจนถึงขั้นต้องนำฟันออกในอนาคต



ฟันเก คืออะไร ? มาทำความรู้จักกัน
อันดับแรกอยากให้ทุกคนมาทำความรู้จักกับปัญหากันก่อน

“ปัญหาฟันเก” เป็นภาวะที่มีลักษณะการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติไปจากเดิม โดยอาจมีลักษณะที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น ฟันมีการซ้อนตัวกัน ฟันล้มเอียง ฟันห่าง ฟันยื่น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ เป็นจุดเริ่มของต้นของปัญหาด้านสุขภาพฟัน สุขภาพเหงือก เเละยังรวมถึงปัญหาทางด้านบุคลิกภาพเเละความมั่นใจของลูกๆอีกด้วย เนื่องภาวะที่มีการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ จะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆตามมา ยกตัวอย่างเช่น การพูดออกเสียงได้ไม่ชัดเจน มีโอกาสน้ำลายกระเด็นได้ง่ายกว่าคนที่มีฟันเรียงตัวปกติ มีกลิ่นปาก มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน  เป็นต้น

ปัญหาฟันเก มีสาเหตุมาจากอะไร ?
ในบทความก่อนหน้านี้เราได้ทำความรู้จักกับปัญหาฟันเรียงตัวที่ผิดปกติกันไปเเล้ว ต่อมาเรามาทำความรู้จักกับ สาเหตุของการเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นไปพร้อมๆกัน

1.ปัจจัยทางพันธุกรรม

เกิดจากพันธุกรรมที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ที่ส่งผลต่อขนาดเเละรูปร่างของขากรรไกรในเเต่ละบุคคล เช่น การมีขนาดของขากรรไกรบนเเละขากรรไกรล่างที่ไม่เท่ากัน การมีขนาดของฟันซี่ใหญ่เเต่มีขากรรไกรขนาดเล็ก

2.ปัจจัยทางพฤติกรรม

นิสัยและพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของเด็กๆ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาการเจริญเติบโตของขากรรไกรเเละโครงหน้าที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติตามมา
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2023-10-17 06:27:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรามาดูถึงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของเด็กๆ ที่จะต้องเเก้ไขเเละปรับเปลี่ยนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นกันดีกว่า

2.1 การหายใจทางปาก

เด็กๆที่มีพฤติกรรมการหายใจทางปาก ปัญหาส่วนใหญ่ที่ตามมาคือ การเจริญเติบโตของขากรรไกรที่ไม่ถูกต้อง โดยมักจะเกิดปัญหาขากรรไกรบนแคบกว่าปกติ เป็นสาเหตุที่ทำให้พัฒนาการของฟันเกิดการเรียงตัวที่ผิดปกติ เนื่องจากเมื่อขากรรไกรมีขนาดที่เเคบลง ฟันที่กำลังเจริญเติบโตจึงมีพื้นที่ไม่เพียงพอส่งผลให้ฟันเกิดการเบียดตัวกันเเละเกิดปัญหาการเรียงตัวที่ผิดปกติ

2.2 การวางลิ้นที่ไม่ถูกต้อง

การวางลิ้น หลายๆคนคงอาจคิดเเละตั้งข้อสงสัยในใจว่า ”การวางลิ้นมันมีถูกวิธีหรือผิดวิธีด้วยอย่างงั้นหรอ” เราจะมา  ทราบถึงวิธีการวางลิ้นที่ถูกวิธีเเละทราบถึงผลเสียที่ตามมาจากการวางลิ้นที่ผิดวิธีกัน เรามาเริ่มกันจากผลเสียที่ตามมาจากการวางลิ้นที่ผิดวิธีกันก่อน

– การวางลิ้นที่ผิดวิธี คือการวางลิ้นไว้ที่ด้านล่างในขณะที่ไม่ได้มีการพูดคุยหรือรับประทานอาหาร

การวางลิ้นไว้ที่ด้านล่างจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการของขากรรไกรล่างที่แคบลง ตามมาด้วยปัญหาการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ หรือในกรณีที่เด็กๆมีนิสัยที่ชอบนำลิ้นมาดันฟัน อาจก่อให้เกิดปัญหาฟันยื่น ฟันเหยิน ขึ้นได้ เนื่องจากลิ้นของคนเรามีน้ำหนักถึง 500 กรัม ในขณะที่เหงือกเเละฟันมีน้ำหนักรวมกันเพียง 300 กรัม   เห็นถึงผลเสียกันไปเเล้ว แล้วการวางลิ้นที่ถูกวิธีคือแบบไหนกันล่ะ ?

การวางลิ้นที่ถูกต้องเเละเหมาะสม ”ควรวางลิ้นไว้ที่ด้านบนของเพดานปาก” ไม่เพียงเเต่ช่วยหลีกเลี่ยงพัฒนาการของขากรรไกรที่ไม่ถูกต้อง เเต่ยังช่วยให้สามารถหายใจทางจมูกได้อย่างสะดวกอีกด้วย ไม่เชื่อลองทำกันดูสิ

2.3 การกลืนที่ไม่ถูกต้อง

การกลืนที่ไม่ถูกวิธี คือ การที่ยื่นลื่นมาเเตะบริเวณฟันหน้าในขณะที่ทำการกลืน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแรงดันที่บริเวณฟันหน้าจากลิ้น ส่งผลกระทบให้ฟันหน้ายื่น ห่าง ออกไปเรื่อยๆ  การกลืนที่ถูกวิธีนั้น จะต้องนำลิ้นเเตะไว้ที่บริเวณกลางเพดานปาก ห่างจากฟันหน้าประมาณ 2 เซนติเมตร ใช้กล้ามเนื้อบริเวณคอเป็นหลักในการกลืน ที่สำคัญเวลากลืนริมฝีปากบนเเละริมฝีปากล่างจะต้องปิดประกบสนิทกัน

2.4 การดูดนิ้ว

พฤติกรรมการดูดนิ้วของเด็กๆ ในช่วงอายุปีเเรกถือเป็นพฤติกรรมที่เป็นเรื่องปกติที่เกิดจากการเรียนรู้ การสำรวจตัวเองของเด็กๆ เเละจะลดหายไปเองในช่วงอายุ 2-4 ปี แต่หากอายุเกิน 4 ปีเป็นต้นไปเเล้ว เด็กๆยังมีพฤติกรรมติดการดูดนิ้วเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน อาจส่งผลให้เกิดปัญหาฟันยื่น ฟันเหยิน ฟันไม่สบ

3.อุบัติเหตุ

ได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบถึงพัฒนาการของขากรรไกรโดยตรง ทำให้เกิดการพัฒนาการของขากรรไกรที่ไม่ถูกต้องเกิดปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติ

4.ฟันน้ำนมหลุดก่อนเวลา

การที่ฟันน้ำนมหลุดก่อนกำหนด ทำให้ฟันเเท้ที่ขึ้นตามมา ขึ้นผิดตำแหน่ง จนเกิดการเบียดตัวกันส่งผลให้การเรียงตัวของฟันผิดปกติ

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2023-10-17 06:27:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ฟันเก ต้องถอนฟันไหม ?
การรักษาฟันเกนั้นสามารถรักษาได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการจัดฟันของเด็ก การตกเเต่งฟัน หรือในบางกรณี้ที่มีความรุนเเรงของปัญหาฟันที่มากอาจจะต้องทำการถอนฟันร่วมกับการผ่าตัด

แต่อย่าพึ่งกลัวหรือตกใจไป ปัญหาฟันซ้อนเกนั้นไม่จำเป็นต้องนำฟันออกเสมอไป ซึ่งจะต้องพิจารณาจากความรุนเเรงของอาการเเละปัญหาการเรียงตัวของฟัน เช่น การเบียดตัวกันของฟันมีความซ้อนเกกันมีความรุนเเรงมากน้อยเเค่ไหน เนื้อที่ของฟันมีมากน้อยเเค่ไหน

ดูแลอย่างไร ให้ห่างไกลการถอนฟัน ?
จากบทความหัวข้อก่อนหน้า เราได้พูดถึงสาเหตุของการต้องนำฟันออกเนื่องจากปัญหาฟันซ้อนเกกันไปเเล้วว่า ในกรณีที่มีปัญหาฟันซ้อนเกรุนเเรง หากต้องการรักษาด้วยการจัดฟันอาจต้องทำการนำฟันออกเพื่อให้มีพื้นที่ในการเรียงตัวของฟันสำหรับการรักษาด้วยการจัดฟันซึ่งนั่นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ

ทีนี้เรามาทราบถึงวิธีการดูแลรักษาอย่างไรให้ไม่ต้องนำฟันออกด้วยการรักษาปัญหาที่ต้นเหตุกัน

หากจะดูแลรักษาด้วยการจัดฟันก็อาจจะไม่ทันการ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่เเล้วช่วงอายุที่เหมาะสมกับการจัดฟันของเด็กจะอยู่ในช่วงอายุ 12-15 ปีเป็นต้นไป เพราะเป็นช่วงที่ฟันเเท้เริ่มขึ้นจนครบหมดแล้ว หากจะรอจนถึงช่วงอายุนั้นก็อาจเกิดปัญหาฟันซ้อนเกที่รุนเเรงไปเสียก่อนแล้ว

เเล้วจะทำอย่างไรถ้าหากว่าการจัดฟันของเด็กนั้นสายเกินไป เรามาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นการรักษาปัญหาที่ต้นเหตุเเละสามารถเริ่มรักษาได้ตั้งเเต่ลูกน้อยอายุ 3 ขวบ

“อุปกรณ์ทางทันตกรรม MYOBRACE” คืออุปกรณ์ช่วยในการปรับโครงหน้าเเละขากรรไกรให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของเด็กๆให้กลับมามีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการการเรียงตัวของฟันที่ถูกต้องและสวยงาม

Cr. https://www.myobracecenter.com/crowding-teeth-tips-tooth-extraction/
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ที่ webdungdong@gmail.com|บริษัท ดั้งโด่งดอทคอม จำกัด|ติดต่อลงโฆษณา| ดั้งโด่งดอทคอม@2020

Copyright © 2001-2013 Comsenz Inc.   All Rights Reserved. Powered by Discuz! X3.2 R20140618, Rev.27, Thzaa City 1 Style

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้