|
แก้ไขล่าสุด NoToriouz เมื่อ 2010-1-17 15:17
เดี๋ยวๆๆๆ...
ใจเย็นๆกันนะครับ.....
รบกวนอ่านตรงนี้ก่อนนะ...เห็นหลายท่านถามเรื่องยาแก้อักเสบ
อ่านดีๆนะครับ ห้ามสับสน หรือ พยายามไม่ทำความเข้าใจระหว่าง "ยาแก้อักเสบ" "ยาลดอาการอักเสบ" และ "ยาปฏิชีวนะ" นะครับ...
ก่อนอื่น ผมต้องแนะนำคุณ จขกท. ก่อนว่าไม่ควรไปซื้อยากลุ่มพวกนี้ทานเองนะครับ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เช่นพวกกลุ่ม -Cilin ต่างๆ ไม่ต้องงนะครับเดี๋ยวผมจะค่อยๆอธิบายนะ
ยาแก้อักเสบ ยาลดอาการอักเสบ และ ยาปฏิชีวนะ บางครั้งมันคือตัวเดียวกันนะแหละครับ แล้วแต่จุดประสงค์ สาเหตุของอาการคนไข้ และความถนัดของแพทย์ผู้สั่งยาให้ ยาพวกนี้ทำหน้าที่ลดการอักเสบของร่างกายเรา ทีนี้ผมจะพยายามอธิบายถึงความแตกต่างของแต่ละกลุ่มรวมถึงความน่าสะพรึงกลัว(เว่อร์ ดีมะ...) ในกรณีที่เราไม่รู้ข้อมูลมากพอและไปซื้อทานเองนะครับ
1.ยาแก้อักเสบ และ ยาลดอาการอักเสบ (nonsteroidal anti-inflamatory drugs) สองคำนี้ หมอมักใช้ในกรณีที่สั่งจ่ายยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์โดยตรงกับ Target และเป็นสารประกอบ Chemical ล้วนๆ บางตัวอาจจะเป็น Natural extract พวกนี้มักมีฤทธิ์เป็นกรดนะครับ สังเกตุได้ง่ายๆว่า จะทานพร้อมมื้ออาหาร ทานหลังอาหารทันที หรือ 10 นาที 30 นาที แล้วแต่ชนิด เพราะว่าถ้าทานก่อนอาหารจะทำให้กระเพาะอาหารอักเสบได้ จุดสังเกตุต่อมาคือ ยาชุดนี้หมอมักจะจ่ายให้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะทรงไข้หรือไม่ใช่อาการช่วงเริ่มต้น หรือง่ายๆคือ เป็นยาชุดที่ 2 หรือ 3 หลังจากที่มีการได้รับยาลดอาการอักเสบไปแล้วครั้งหนึ่ง (เดี๋ยวผมจะอธิบายต่อให้ครับว่า แล้วไอ้ยาครั้งแรกเป็นพวกไหนนะ...)
2. ยาปฏิชีวนะ (Anti-Bactirial drugs) หรือสังเกตุได้ว่ามักชื่อ Cillin ต่อท้าย แต่เว้นบ้างตัวนะครับ อันนั้นละเอียดไปเน๊อะ... พวกนี้จะเป็นยาที่สกัดจากสารเคมีที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นมาเพื่อสู้กับสารพิษที่มาทำลายเซลล์พวกมัน มนุษย์เราเก่งกว่า ครับเอาสารนี้มา covert ได้ยาตัวใหม่ที่จะใช้ทำลาย DNA ของพวกจุลินทรีย์ในร่างกายเราจนมันตายได้ ทีนี้ถ้าเราทานยากลุ่มนี้ไม่ครบที่แพทย์สั่ง หรือ ขาดตอน ทำให้เชื้อมันสามารถสร้างสารเคมีหรือปรับเปลี่ยน DNA(s) ในตัวมันเองจนสามารถต่อต้านยาเราได้ มันก็ไม่ตายแถมยังสามารถสร้างสารมาสู้ยาตัวนั้นได้อีก มันไม่ตาย เราจะตายแทนครับ... หรือที่เรียกกันว่า "เชื้อโรคดื้อยา" ทีนี้ทำไงดี...หมอจะเพิ่มความแรงยาหรือ Dose หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นการฉีดยาจนกว่าจะทำลายได้ แต่ถ้าอาการหนักหมอจะเปลี่ยนตัวยาไปเลย แต่กว่าจะหายเราคงโทรมไปล่ะครับ... ยากลุ่มนี้สังเกตุได้ว่า หมอมักจะสั่งให้เป็นยาชุดแรกเมื่อเราเกิดอาการหรือหลังจากที่พบแพทย์เมื่อเจ็บป่วย และมักจะเป็นยาที่ทานก่อนอาหารครับ เพราะว่าไม่มีส่วนประกอบที่เป็นกรดใดๆ ที่ทำลายกระเพาะอาหารได้ แต่บางตัวก็ทานหลังอาหารได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างให้นะครับ เช่นพวก ampicillin, penicillin จะทานก่อนอาหาร ส่วน Erythocin ทานก่อนอาหารได้แต่ว่าจะไม่เหมาะกับผู้ที่กระเพาะอาหารอ่อนแอ ดังนั้นทานหลังอาหารดีกว่า อีกกลุ่มที่เราคุ้นเคยมันมากส์นะครับ ก็ amoxycillin ทานได้ทั้งก่อนและหลังอาหารครับ ถามว่าแล้วจะทานตอนไหนดี...ก็บอกว่าได้ทั้งก่อนและหลังไงล่ะครับ ไม่ต้องสนใจว่าคนที่จ่ายยา amoxy ให้เรานั้นจะเขียนให้ทานตอนไหน แต่ผมขอแนะนำว่าทานก่อนดีกว่าครับ ร่างกายเราจะสามารถดูดซึมสารต่างๆได้ดีที่สภาวะกระเพาะอาหารว่างครับ...
ทีนี้ ...อย่างที่บอกนะครับ ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนตัดสินใจเอ่ยชื่อยาสั่งซื้อเองดีกว่านะครับผม ถ้าเกิดไรขึ้นไม่คุ้มกันเลยนะครับ...
Ps. ส่วนชนิดของแคปซูล รูปแบบ สีสรร หรือ บริษัทผู้ผลิต เลือกเอาตามกำลังทรัพย์เลยครับเพราะพวกนี้(น่าจะ)ผ่าน อย. มาหมดและครับ ขอเพียงแต่ว่า เราเลือกชนิดหรือประเภทของตัวยาถูกกับอาการเราเท่านั้นครับที่เป็นหลักสำคัญสุด |
|