ดู: 684|ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อันตรายถึงชีวิต รีบรักษานอนกัดฟัน ก่อนเกิดโรคแทรกซ้อน

[คัดลอกลิงก์]


นอนกัดฟัน ใครว่าไม่อันตราย หลายๆคนคงคิดว่าการนอนกัดฟัน เป็นปัญหาเล็กน้อยทั่วไปที่ไม่ได้ส่งผลอันตรายร้ายแรงใดๆ แต่จริงๆแล้วการนอนกัดฟันส่งผลเสียต่อสุขภาพของช่องปากและสุขภาพโดยรวมของร่างกาย และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลเสียในระดับที่รุนแรงอันตรายถึงชีวิต ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเกิดความยากลำบากที่มากขึ้น

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรานอนกัดฟันหรือเปล่า ? ในเมื่อเรานอนคนเดียว ในบทความนี้เราจะแนะนำถึงวิธีการเช็คอาการนอนกัดฟัน ด้วยการทำแบบทดสอบง่ายๆที่หากว่าคุณนอนคนเดียวก็สามารถตรวจอาการของตัวเองได้ อีกทั้งยังแนะนำถึงวิธีการรักษานอนกัดฟันที่มีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยให้อาการนอนกัดฟันดีขึ้นและสามารถนอนหลับในยามค่ำคืนได้สบายมากขึ้น ด้วยวิธีการรักษาโดยการใช้เฝือกสบฟัน หรือที่เรียกกันว่า เฝือกฟัน Occlusal Splint

ทำไมนอนแล้วต้องกัดฟัน ? เกิดขึ้นได้ยังไงกันนะ
การนอนกัดฟัน หรือภาวะที่มีการบดเคี้ยว ขบฟัน ไปมาในระหว่างการนอนหลับ สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้เกิดการนอนกัดฟันขึ้นในขณะหลับ โดยปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งหากเราทราบถึงสาเหตุและเข้าใจถึงปัญหาการนอนกัดฟัน จะช่วยให้การรักษานอนกัดฟันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้นในการแก้นอนกัดฟันให้หาย

1.ความเครียด วิตกกังวล
ปัจจัยทางด้านความเครียดที่สะสมในชีวิตประจำวันสามารถกระตุ้นและทำให้เกิดการนอนกัดฟันขึ้นได้ในขณะหลับ เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียดกล้ามเนื้อบริเวณปากจะเกิดการเกร็งตัวตอบสนองต่อความเครียด ซึ่งทำให้เกิดการบดเคี้ยวฟันไปมาในขณะที่เรานอนหลับ และเกิดการนอนกัดฟันโดยที่เราไม่รู้ตัว

2.โครงสร้างฟันของแต่ละบุคคล
การที่มีแนวของฟันสบกันอย่างผิดปกติ ฟันบนและฟันล่างเรียงตัวกันไม่ถูกต้อง เช่น ฟันเหยิน

ฟันไม่สบ ทำให้ในขณะที่นอนหลับ ฟันอาจเกิดการบดกันหรือกัดแน่นมากกว่าปกติ ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะนอนกัดฟันในขณะหลับ

3.ความผิดปกติของการนอนหลับ
การนอนกัดฟันสามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น การนอนกรน การหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากเมื่อในขณะที่กำลังนอนหลับ ร่างกายจะเกิดการผ่อนคลายตัวของกล้ามเนื้อ และเมื่อเกิดความผิดปกติในการนอนหลับ เช่น การหยุดชะงักและตื่นขึ้น การหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น เกิดการเกร็งตัว และเกิดการนอนกัดฟันตามมา

4.ยาและสารกระตุ้นต่างๆ
ยารักษาบางชนิด เช่น ยาแก้อาการซึมเศร้า ยารักษาอาการทางจิต อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดการนอนกัดฟันขึ้นได้ รวมถึงสารกระตุ้นต่างๆเช่น แอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน

5.อายุ
ปัญหาการนอนกัดฟันโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะพบได้บ่อยในเด็ก โดยในบางรายอาการมักจะหายไปได้เองเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แต่สำหรับบางรายอาการก็จะยังคงอยู่มีการนอนกัดฟันแม้จะโตขึ้น ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับระดับความเครียดในแต่ละบุคคล

6.ปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์
การสูบบุหรี่อย่างเป็นประจำ เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้มีโอกาสเกิดการกัดฟันที่มากขึ้น รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือ แอลกอฮอล์ที่มากเกินไป

7.สภาพแวดล้อมในการนอน
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการนอนหลับภายในห้องนอนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเกิดนอนกัดฟันขึ้นได้ เนื่องจากหากสภาพแวดล้อมในการนอนไม่เหมาะสมแก่การนอนหลับ เช่น มีแสงสว่างมาก มีเสียงดังรบกวน ทำให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพ เกิดอาการนอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมและเกิดการนอนกัดฟัน

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-1-15 23:20:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ผลกระทบและโรคแทรกซ้อนที่มาจากการนอนกัดฟัน
การนอนกัดฟันนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของฟันที่มักจะเกิดปัญหาฟันแตก ฟันร้าว รวมไปถึงอาการเสียวฟัน และยิ่งหากปล่อยอาการทิ้งไว้โดยไม่รีบรักษานอนกัดฟันให้หาย จะยิ่งส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อชีวิตประจำวันที่อาจเป็นสาเหตุทำให้การใช้ชีวิตประจำวันมีความยากลำบากที่มากขึ้น และยังอาจเกิดโรคแทรกซ้อนจากการนอนกัดฟันที่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต

แล้วการนอนกัดฟันจะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงอะไรบ้าง มาดูกัน
– ภาวะข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (TMD)
การนอนกัดฟันอย่างเป็นประจำ ทำให้น้ำหนักที่เกิดจากการกระทบกันของฟันซ้ำๆไปมา เกิดแรง

กระแทกและกระทบไปยังบริเวณข้อต่อขากรรไกร ส่งผลให้หมอนรองกระดูกบริเวณขากรรไกรถูกบดขยี้จากการบดเคี้ยวฟันไปมา

ซึ่งอาจส่งผลให้หมอนรองกระดูกการเกิดเคลื่อนตัวและฉีกขาด ทำให้เกิดอาการขากรรไกรค้างเวลาตื่นเช้า หรือ มีอาการอ้าปากแล้วหุบปากไม่ได้ รวมไปถึงการเคี้ยวอาหารแล้วปวดบริเวณขากรรไกร หรือมีเสียงคลิกบริเวณขากรรไกร ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขากรรไกรอักเสบ

– เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง
ในขณะที่เรานอนหลับ เมื่อเกิดการนอนกัดฟันตลอดทั้งคืนเป็นเวลานาน ทำให้แรงกระแทกที่เกิดจากการกัดฟันบริเวณข้อต่อขากรรไกร ลุกลามไปยังกล้ามเนื้อบริเวณขมับ หน้าผาก ศีรษะ ทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้เกิดการเกร็งตัวตลอดทั้งคืน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะและไมเกรน

และยังมีปัจจัยในส่วนของออกซิเจนที่ไม่เพียงพอใจขณะนอนหลับ เนื่องจากการนอนกัดฟันทำให้เกิดการหายใจที่ไม่สม่ำเสมอกัน ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการปวดศีรษะ

– โพรงประสาทฟันเสียหาย
การกัดฟันที่รุนแรงหรือบดเคี้ยวฟันไปมาเป็นระยะเวลานานในขณะหลับ อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายขึ้นที่โพรงประสาทฟัน และทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่ปลายรากของฟัน ซึ่งส่งผลให้มีอาการเจ็บ หรือ ปวดฟันเป็นอย่างมาก และอาจเกิดอาการฟันโยกขึ้นด้วย จึงทำให้การเคี้ยวอาหารทำได้ลำบากขึ้น และในบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้

– ภาวะเหงือกร่น
ในบางกรณี การนอนกัดฟันที่มีความรุนแรงมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายขึ้นที่บริเวณของเหงือก เช่น การเกิดภาวะเหงือกร่นที่ทำให้รากฟันโผล่ขึ้นมา และทำให้เกิดปัญหาฟันมีความรู้สึกที่ไวมากขึ้น เกิดการเสียวฟันได้ง่าย และเสี่ยงต่อการสูญเสียฟัน

– ปวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและหู
เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการนอนกัดฟัน เนื่องจากในระหว่างที่นอนกัดฟันไปมา กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและหู อาจมีการถูกกระแทกและเคลื่อนไหวเป็นเวลานานในขณะที่กัดฟัน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าเกิดการตึงตัวตลอดทั้งคืนและส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในบริเวณใบหน้าและหูหลังจากตื่นนอน

– คุณภาพการนอนลดลง
การนอนกัดฟันส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นตัวของผู้ที่นอนกัดฟันเอง หรือทั้งผู้ที่นอนด้วย การนอนกัดฟันทำให้เกิดอาการปวดกรามหรือปวดศีรษะในขณะที่นอนหลับ ซึ่งทำให้อาจเกิดความเครียดและนอนหลับได้ยาก ซึ่งในบางรายก็มีอาการหลับๆตื่นๆไม่สามารถนอนหลับได้สนิทยาวตลอดทั้งคืน ส่งผลให้ง่วงนอนในตอนกลางวัน เกิดอาการเหนื่อยล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ และทำให้คุณภาพชีวิตโดยรวมลดลง

และสำหรับผลเสียที่กระทบถึงผู้ที่นอนด้วย การนอนกัดฟันมักจะส่งเสียงดังรบกวน ทำให้คนที่นอนหลับด้วยในห้องนอนไม่สามารถนอนหลับได้ เกิดความเครียดสะสมจากการถูกรบกวน และเกิดปัญหานอนไม่หลับ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านความสัมพันธ์

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-1-15 23:20:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการนอนกัดฟัน
การนอนกัดฟันหรือการกัดฟัน เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกวัยๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในระหว่างนอนหลับ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาปกติที่เราไม่ได้นอนหลับเช่นกัน ซึ่งปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยจะมีกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการนอนกัดฟันมากกว่าปกติ เช่น

– ผู้ที่มีความเครียดและความวิตกกังวลสูง
– ผู้ที่มีบุคลิกนิสัย ก้าวร้าว ชอบการแข่งขัน สมาธิสั้น
– ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติการนอนกัดฟัน
– ผู้ที่มีปัญหาการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ
– ผู้ที่มีไลฟ์สไตล์ สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
– ผู้ที่มีภาวะความผิดปกติขณะนอนหลับ

นอนคนเดียวจะรู้ได้อย่างไร ว่านอนกัดฟัน ?
ถ้านอนคนเดียวจะรู้ได้ยังไงกันว่าเรานอนกันฟัน ? ในเมื่อใครมีใครคอยบอก มาเช็คอาการในเบื้องต้นเพื่อประเมินถึงความเสี่ยงในการนอนกัดฟัน เพื่อรีบรักษานอนกัดฟันและแก้นอนกัดฟันให้หาย ก่อนที่จะเกิดผลกระทบและปัญหาที่ร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกาย

7 วิธี ประเมินอาการ เรานอนกัดฟันไหมนะ ?
– ตื่นนอนแล้วรู้สึกปวดหัว
– ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณแก้ม หน้าหู ขากรรไกร
– มีอาการขยับข้อต่อขากรรไกรลำบาก ติดๆขัดๆ มีอาการขากรรไกรค้าง
– เสียวฟัน กัดฟันแล้วเกิดอาการเจ็บ
– เริ่มมีปัญหาฟันแตก ฟันร้าว ฟันบิ่น
– มีอาการกัดฟันในระหว่างวัน
– ตรวจคุณภาพการนอนหลับ ด้วยโปรแกรม Sleep Test

การนอนกัดฟันรักษาได้หากทราบถึงสาเหตุและอาการที่เกิดขึ้น ใครที่มีอาการเหล่านี้และกังวลใจว่าตัวเองกำลังนอนกัดฟันหรือเปล่า รีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจอาการและรับคำปรึกษาถึงวิธีแก้อาการนอนกัดฟันที่ถูกต้องและได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-1-15 23:20:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


เคล็ดไม่ลับ รักษาปัญหานอนกัดฟัน ด้วยเฝือกสบฟัน (Occlusal Splint)
เชื่อว่าหลายๆคนที่มีปัญหาการนอนกัดฟัน คงเคยได้ยินชื่อของอุปกรณ์ที่เรียกว่า เฝือกฟัน occlusal splint กันมาบ้าง หรือบางคนอาจจะรู้จักในชื่อของ splint ฟัน แล้วสงสัยกันไหมว่า การใส่เฝือกฟันจะช่วยรักษานอนกัดฟันได้อย่างไร เรามาทำความเข้าใจและรู้จักถึงวิธีแก้อาการนอนกัดฟัน ด้วยsplint ฟัน ไปพร้อมกัน

เฝือกสบฟัน หรือ occlusal splint คือเครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับใส่ในช่องปากที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายและผลกระทบในส่วนของฟันและข้อต่อขากรรไกร จากการนอนกัดฟันในขณะหลับ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ใครบ้างที่ควรรักษาด้วยเฝือกสบฟัน ?
1.คนที่นอนกัดฟันเป็นประจำในขณะนอนหลับ รวมไปถึงคนที่มีนิสัยชอบขบฟัน กัดฟัน ในระหว่างวัน
2.ผู้ที่มีปัญหาการใช้งานกล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่ผิดปกติ มีการใช้กล้ามเนื้อที่มากเกินไป
3.ผู้ที่มีปัญหาขากรรไกรติดขัด อ้าปากหุบปากลำบาก หรือมีเสียงคลิกที่บริเวณขากรรไกร
4.ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมของขากรรไกร

นอนกัดฟันรักษาด้วยเฝือกสบฟันดียังไง ?
1.ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟันสึก ฟันเก ฟันร้าว จากการนอนกัดฟัน
2.ป้องกันความเสี่ยงในการเกิดปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
3.ลดการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว และลดแรงกระแทกต่อฟันและขากรรไกร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อใบหน้า ขากรรไกร
4.การนอนหลับมีประสิทธิภาพที่มากขึ้น การใส่เฝือกฟันเป็นตัวช่วยที่จะลดแรงกระแทกของการนอนกัดฟันในขณะหลับ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวมีการใช้งานที่น้อยลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้ามีการใช้งานที่ลดลงตาม อาการปวดเมื่อยใบหน้า ปวดกราม ลดน้อยลง สามารถนอนหลับได้ดีขึ้น

นอนกัดฟัน ทำไมต้องรักษาที่ VitalSleep Clinic
อาการนอนกัดฟันถึงจะเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่หากเรารู้ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการและได้รับวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ก็สามารถทำให้อาการนอนกัดฟันนั้นหายได้

ที่ VitalSleep Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการในด้านของการรักษาปัญหาการนอนกัดฟัน โดยมีทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญด้านการนอนกัดฟันเป็นผู้ดูแลรักษาและให้คำปรึกษาโดยเฉพาะ

ด้วยการรักษาโดยใช้เครื่องมือที่ได้รับมาตรฐานมีคุณภาพสำหรับการรักษาอาการนอนกัดฟัน รวมไปถึงยังมีโปรแกรมตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ที่พร้อมให้บริการเพื่อตรวจหาสาเหตุของการนอนกัดฟัน

cr. https://www.vitalsleepclinic.com/bruxism-occlusal-splint-disease/
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ที่ webdungdong@gmail.com|บริษัท ดั้งโด่งดอทคอม จำกัด|ติดต่อลงโฆษณา| ดั้งโด่งดอทคอม@2020

Copyright © 2001-2013 Comsenz Inc.   All Rights Reserved. Powered by Discuz! X3.2 R20140618, Rev.27, Thzaa City 1 Style

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้