|
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Marple เมื่อ 2021-12-18 08:54
ตัวอ่อนระยะ Blastocyst คืออะไร
เป็นชื่อเรียกของระยะตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิเพื่อนำไปทำเด็กหลอดแก้ว หรือ อิ๊กซี่ โดยจะถูกเลี้ยงในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีนักวิทยาศาสตร์อย่างใกล้ชิด เพราะจะต้องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง และแก๊ส เป็นระยะเวลา 5-6 วัน จนได้ตัวอ่อนที่แข็งแรง แล้วจึงจะย้ายกลับไปเพื่อฝังตัวเข้าสู่โพรงมดลูก
ทำไมต้องใช้ตัวอ่อนระยะ Blastocyst
เพราะ ระยะบลาสโตซิสต์ เป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดที่สามารถตรวจวัดคุณภาพได้ง่าย เพราะมีแบ่งเซลล์ถึง 80 -120 เซลล์ สามารถตรวจคัดกรองเกรดคุณภาพของตัวอ่อนได้ เกรดของ ตัวอ่อนจะถูกแบ่งเป็น A B C ตามลำดับ ในการแบ่งเกรดตัวอ่อนจะใช้เกณฑ์ของ Gardner and Schoolcraft โดยจะแบ่งตามลักษณะต่างๆดังนี้
1.Expansion (รูปร่างของเซลล์ตัวอ่อน) แบ่งได้ 6 ระดับ
-Early Blastocyst
-Blastocyst
-Full Blastocyst
-Expanded Blastocyst
-Hatching Blastocyst
-Hatched Blastocyst
2.Inner Cell Mass (ICM) (ระยะของเซลล์ที่โตเป็นตัวอ่อน และไปฝังตัวในโพรงมดลูก) แบ่งได้ 3 เกรด
เกรด A คือ ตัวอ่อนที่มีจำนวนเซลล์มาก มีความยึดเกาะกันเป็นกลุ่มๆ
เกรด B คือ ตัวอ่อนที่มีจำนวนเซลล์กลางๆ ไม่เยอะมาก และเซลล์ค่อนข้างกระจัดกระจาย
เกรด C คือ ตัวอ่อนที่มีจำนวนเซลล์น้อยมาก หรือในบางตัวก็ไม่สามารถมองเห็นได้
3.Trophectoderm (ระยะของเซลล์ที่โตที่ผนังมดลูกได้) แบ่งได้ 3 เกรด
เกรด A คือ ตัวอ่อนที่มีการเรียงตัวของเซลล์อย่างสม่ำเสมอ มีขนาดเซลล์เท่าๆ กัน
เกรด B คือ เกรดตัวอ่อนมีเซลล์ที่เรียงตัวกันไม่ค่อยดี มีขนาดเซลล์ไม้เท่ากัน
เกรด C คือ ตัวอ่อนมีเซลล์จำนวนน้อยมาก
ในการพิจารณาเลือกตัวอ่อน ถูกพิจารณาจากนักวิทยาศาสตร์และหมออย่างละเอียด โดยจะเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุด เช่น หากปฏิสนธิได้ระยะบลาสโตซิสต์มาจำนวน 5 ตัว จะเลือกตัวอ่อนที่เป็นเกรด A หรือเกรดดีที่สุดอย่างน้อย 2 ตัว แล้วย้ายกลับสู่โพรงมดลูก ในกรณีที่คนไข้อายุมากกว่า 35 ปี จะต้องตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น เพราะ ผู้หญิงอายุมากส่วนใหญ่จะมีปัญหารังไข่เสี่อม ืำให้ผลิตไข้ออกมาไม่ได้คุณภาพ และอาจเสี่ยงต่อตัวอ่อนมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม ความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซมจึงเป็นสำคัญอย่างมาก เพราะ สามารถช่วยลดอัตราการแท้งจากตัวอ่อนไม่ฝังตัว และสามารถตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมได้อีกด้วย
หากสนใจเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กหลอดแก้วเพิ่มเติมสามารถเข้าไปที่ https://worldwideivf.com/services/icsi/ ได้ |
|