|
++++ขอตอบจากข้อมูลที่ให้มานะครับ เท่าที่ตอบได้+++++
ประเด็นแรก เรื่องแพ้ยา กับอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
1. สอง คำนี้ ไม่ใช่เรื่องเดียวกันครับ การแพ้ยา เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับยาไปแล้ว โดยทั่วไปจะมีอาการ ผื่น คัน หน้าบวม ตาบวม หรือเกิดความผิดปกติใดๆ ก็ตามภายหลังการใช้ยา และ อาการแพ้ยา ไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ว่าจะเกิดกับใคร กับยาตัวไหน แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ส่วนระยะเวลาที่เกิดการแพ้ยา บางคนมีทันทีหลังทานยา บางคนกินเวลา เป็นวัน ถึงสัปดาห์ถึงเริ่มมีอาการแพ้ยา โดยทั่วไปอาการแพ้ยาจะเกิดช่วง หลังจากรับยา - 2 สัปดาห์ แต่ก็มียาบางตัวที่สามารถ แพ้ได้ ถึงแม้ว่า จะใช้กันติดต่อไปสองสามเดือน ต้องดูเป็นยาเป็นตัวๆ ไปครับ ส่วน "อาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา" เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้ยา ซึ่งเกิดจากกลไกของตัวยาเอง มีผลต่อร่างกายนอกเหนือจากการรักษา และอาการข้างเคียง เป็นกลุ่มอาการที่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิด แล้ว ต่างกับการแพ้ยานะครับ ยกตัวอย่าง
ถ้าคุณทาน Aspirin แล้ว แสบท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาการนี้เรียกว่า ----- อาการข้างเคียงเพราะ เรารู้กันว่า aspirin ระคายเคืองกระเพราะอาหาร ใช่ไหมครับ??? แต่ถ้าเราทาน aspirin แล้ว มีผื่นขึ้น คัน แบบนี้เรียกว่า ----- แพ้ยา เพราะ เราคาดเดาไม่ได้นิครับ ว่าเราทานไปแล้วผื่นจะขึ้น คนอื่นทานไม่เห็นเป็น
2. เมื่อเข้าใจเรื่องความต่างของสองคำนี้แล้วก็ มาเข้าประเด็นของ จขกท อย่างที่อกว่า อาการแพ้ยา น่าเกิดเกิดไม่เกิน ภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างมากก็ สามเดือน ถ้า จขกท ทานยาเดิม นานกว่านี้ ก็ ตัดประเด็น แพ้ยาออกไป คงเหลือแค่ประเด็น อาการข้างเคียงของยา และ เป็นอาการที่เกิดจากตัวโรคประจำตัวเองซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับยา
ประเด็นต่อไปคือ อาการหน้าบวมที่ จขกท ว่า จะเกิดจากยาหรือไม่
ประเด็นนี้ตอบยากด้วย สอง ปัจจัย 1. ผมไม่รู้ว่า จขกท ทานยาอะไรอยู่ เพราะไม่ใช่ยาทุกตัวที่ทานแล้ว จะมีอาการข้างเคียงคือ หน้าบวม ตัวบวม โดยทั่วไปนะครับ กลุ่มยาที่ทำให้เกิดอาการบวมได้มากและพบบ่อย ค่อกลุ่มที่เป็น steriods และ ยาที่เป็น อนุพันธ์ ซึ่งส่วนใหญ่ทางการแพทย์ใช้ในการลดการอักเสบ พบใช้มากในกลุ่มผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ และ SLE 2. โรคประจำตัวของ จขกท นั้น ก็ไม่ทราบว่าเป็นอะไร เพราะบางโรค เช่น SLE บางชนิด โดยตัวโรคเองก็ ทำให้มีอาการหน้าบวม อยู่แล้ว โดยไม่ต้องเกิดจากยา ครับ
ประเด็นสุดท้าย ทานยาโรคประจำตัวมากๆ แล้วตับจะพังไหม???
ประเด็นนี้ คือ ไม่ใช่ยาทุกตัวที่จะมีผลกระทบต่อการทำงานของตับ แต่ ส่วนใหญ่มีผล แล้วผู้ป่วยจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ทานยานานๆแล้วตับไม่พัง อันนี้ตอบได้ง่ายๆครับว่า ทุกครั้งหรือเกือบทุกครั้งที่คุณไปพบแพทย์ จะต้องมีการตรวจเลือด ทุกสามเดือน อย่างน้อยก็ หกเดือน แล้วผลเลือดอันนี้มันมีตัวชี้วัดค่าการทำงานของตับ เพื่อให้คุณหมอปรับเปลี่ยนยา เมื่อพบว่าตับผู้ป่วยอาจจะเกิดปัญหา ดังนั้น ถ้าคุณไปพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ มั่นใจได้ว่า ตับจะไม่พังแน่นอน
อีกประเด็นที่ จขกท คือ อาการหน้าบวมจะเกิดจากตับพังหรือไม่ อันนี้ขอตอบเท่าที่ทราบนะครับว่า ถ้าการทำงานของตับเริ่มมีความผิดปกติ จริง ระบบแรกที่จะกระทบคือ ระบบทางเดินอาหารและการย่อยจะแย่ลง เพราะ ตับ ตับอ่อน ระบบน้ำดี เป็นที่ผลิตเอนไซม์ต่างๆในกระบวนการย่อย ถ้า ตับผู้ป่วยมีปัญหา ส่วนใหญ่ จะมีอาการทางเดินอาหารมาก่อนครับ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อบ่อยๆ เป็นนานๆไม่หาย นี้คือข้อสังเกตุง่ายๆ ส่วนตับพังแล้ว ทำให้หน้าบวมไหม บอกตามตรงว่าตัวเองยังไม่เคยพบครับ
ถ้า จขกท ไม่สบายใจอย่างไร สามารถถือยาทั้งหมด กลับไปพบแพทย์ ได้ก่อนถึงนัดนะครับ ไม่ต้องรอจนถึงนัด เล่าอาการต่างๆให้แพทย์ประจำตัวฟัง เพราะผมเชื่อว่า ไม่มีใครที่จะระบุสาเหตุของอาการต่างๆได้ดีเท่าแพทย์ประจำที่ จขกท รักษาอยู่นะครับบบ ขอให้มีสุขภาพดีครับผมมมมมมมมม |
คะแนน
-
2
ดูบันทึกคะแนน
-
|