|
collagen เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง คือ scleroprotein ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) โดยจะอยู่ในรูปของ fiber ที่ประกอบด้วย peptide chain (สายไขมัน) 3 สายที่เรียกว่า triple helix โดยจะถูกสร้างโดย fibroblast มีคุณสมบัติทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประสิทธิภาพความยืดหยุ่นของคอลลาเจนจะเสียไป โดย พบว่าคอลลาเจนจะเหนียวมากขึ้นและอุ้มน้ำได้น้อยลง จึงทำให้ผิวหน้าแห้งได้ง่าย
การฉีดคอลลาเจน เพื่อนำมาแก้ปัญหาริ้วรอยเหี่ยวย่น ได้มีการนำมาใช้ในระยะ 20 กว่าปีที่ผ่านมา (ค.ศ.1981) อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะด้านศัลยกรรมตกแต่ง
การเติมสารคอลลาเจน อาจทำให้เกิดปฏิกริยาต่อผิวหนังได้ 3 ลักษณะดังนี้
1. ปฎิกริยาจากการชอกช้ำ (Trauma) ซึ่งเป็นผลจากการแทงเข็ม และดันสารคอลลาเจนเข้าไป โดยจะพบเป็นรอยแดง หรือฟกช้ำ ซึ่งอาจหายได้เอง ภายใน 1-7 วัน
2. ปฏิกริยาจากการแพ้ เนื่องจากสารคอลลาเจนเป็นสารแปลกปลอม แม้จะได้ทำการสังเคราะห์ลดปฎิกริยาการแพ้แล้ว ก็อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนั้นก่อนทำการฉีด แพทย์ส่วนใหญ่จะทำการทดสอบการแพ้ โดยลองฉีดสารคอลลาเจนเข้าที่บริเวณท้องแขน แล้วรอแปลผล ประมาณ 4 สัปดาห์ว่าบริเวณที่ฉีดมีอาการแพ้ แล้วเกิดบวมแดง หรือบวมนูน ถ้าไม่พบรอยดังกล่าวก็น่าจะฉีดได้ นอกจากนี้ อาการแพ้อาจเกิดกับร่างกายบริเวณอื่น เช่น ไขข้ออักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นต้น
3. ปฏิกริยาจากการฉีด มักเกิดจากการฉีดที่ไม่ชำนาญ โดยอาจฉีดตื้น หรือ ปริมาณมากเกินไป ทำให้เกิดเป็นตุ่นนูนเรื้อรัง หรืออาการติดเชื้อบวมแดง
ข้อจำกัดในการฉีดสารคอลลาเจน ได้แก่
1. มีอาการแพ้ได้บ้าง (ประมาณ 1-4 %)
2. ไม่คงตัวถาวร ต้องฉีดซ้ำ ภายใน 6-8 เดือน
3. ริ้วรอยที่มีขนาดเล็ก อาจทำให้เห็นเป็นรอยนูน เนื่องจากปริมาณที่ฉีดไม่พอดีกับรอยร่องหลุม
4. ตำแหน่งที่ฉีดแต่ละแห่ง อาจมีวิธีฉีดแตกต่างกัน ทั้งปริมาณ ตำแหน่งของเข็มที่ปักลงไป ชนิดของคอลลาเจน เพื่อผลการรักษาที่แตกต่าง
ที่มา:
http://www.samunpai.com/update/show.php?cat=15&id=277 |
คะแนน
-
1
ดูบันทึกคะแนน
-
|