|
1. การผ่าตัดจากภายนอกช่องปาก
เป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะเปิดแผลจากภายนอกบริเวณใกล้ ๆ กับมุมกรามแล้วค่อย ๆ เลาะผ่านกล้ามเนื้อและหลบเส้นประสาทสำคัญเส้นหนึ่งที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ มุมปาก หลังจากนั้นจึงตัดแยกกล้ามเนื้อมุมกรามออกเข้าหากระดูกมุมกราม เมื่อสามารถเปิดกระดูกมุมกรามส่วนที่ต้องการจะตัดได้เรียบร้อยแล้วจึงใช้ เลื่อยตัดกระดูกตามแนวที่ต้องการแล้วเอาชิ้นกระดูกที่เกินนั้นออกไป ตกแต่งมุมกระดูกให้เรียบร้อยแล้วจึงทำการเย็บแผลปิด วิธีนี้แพทย์สามารถผ่าตัดได้ง่ายเนื่องจากไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรพิเศษมาก นักและไม่ต้องผ่านช่องปากเข้าไปหากระดูกอาการบวมจึงมักจะน้อยกว่า แต่วิธีนี้มีโอกาสที่แพทย์อาจจะกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงมุม กรามได้ แม้จะเป็นการชั่วคราวแต่ก็สามารถทำให้เกิดการเอียงหรือเบี้ยวของมุมปากได้ใน ระยะแรก และสิ่งสำคัญคือแผลผ่าตัดที่มุมกรามนั้นบางรายอาจจะสามารถเห็นและสังเกตได้ และบางรายก็เกิดอาการแผลปูดนูนตามมาในระยะหลังได้ซึ่งจะต้องทำการรักษาต่อไป
2. การผ่าตัดจากภายในช่องปาก
วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะยุ่งยากมากกว่า และจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษกว่าการตัดจากภายนอก แพทย์จะทำการเปิดแผลที่ในช่องปากตรงบริเวณหลังฟันกรามซี่สุดท้ายในแนวดิ่ง แล้วค่อย ๆ เลาะแยกเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวรวมทั้งกล้ามเนื้อที่คลุมมุมกรามออก หลังจากนั้นจึงเลาะเยื่อหุ้มกระดูกออกให้กว้างเพียงพอที่จะสอดใส่เครื่องมือ เข้าไปที่มุมกรามเพื่อจะให้เห็นมุมกรามและกรามส่วนหลังได้ชัดเจน หลังจากนั้นจึงใช้เลื่อยที่มีรูปร่างเป็นเลื่อยมุมฉากเข้าไปทำการตัดตามแนว ที่ต้องการเลื่อยชนิดนี้จะมีความยาวเพียงพอที่จะทำให้การตัดในแนวตั้งฉาก สามารถทำได้ หลังจากนั้นแพทย์จึงนำชิ้นกระดูกที่ถูกตัดขาดออกมาพร้อมกับการตกแต่งกระดูก ส่วนที่เหลือให้กลมมนตามปกติ แล้วจึงเย็บแผลปิดตามเดิม ปัญหาของการตัดด้วยวิธีนี้นั้นส่วนมากมักจะเป็นเรื่องเทคนิกการผ่าตัดซึ่ง มักจะต้องอาศัยประสบการณ์ความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด รวมทั้งต้องการเครื่องมื่อที่เหมาะสมด้วยจึงจะทำให้การผ่าตัดได้ผลดีและ กระดูกที่ตัดออกมานั้นมีขนาดที่พอเหมาะ การผ่าตัดจากภายในปากนี้มีการดึงรั้งกล้ามเนื้อและเยื่อบุปากมากกว่าจึงมี อาการบวมค่อนข้างจะมากกว่าการตัดจากภายนอกปาก แต่ไม่มีแผลเป็นให้เห็นจากภายนอกและการกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทก็มักจะ ไม่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ
|
|