ดู: 7137|ตอบกลับ: 65
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ข้อมูลที่ผู้หญิงควรรู้

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขล่าสุดโดย misho เมื่อ 2010-6-22 00:54

เผอิญได้ไปฉีดวัคซีนตัวนึงมาแล้วเมือวันเสาร์มันเป็นเข็นสุดท้ายพอดี รู้ไว้ใช่ว่าเนาะ ป้องกันได้ก็ควรทะกันเนาะ

มะเร็งปากมดลูก



แม้ มะเร็งปากมดลูก จะเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาให้หายได้ แต่ โรคมะเร็งปากมดลูก  ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิง โดยมีอัตราการเสียชีวิตของ มะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน  และพบผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก รายใหม่สูงถึง 6,000 คนต่อปีโดยใน จำนวนของผู้มีเชื้อนี้กว่าครึ่งต้องเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอาย และกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ มะเร็ง ทำให้กว่าจะรู้ว่าป่วยด้วย โรคมะเร็งปากมดลูก นี้  ความรุนแรงของโรคก็อยู่ในระยะลุกลามแล้ว..ดังนั้น  วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก มาให้คุณรู้เท่าทัน โรคมะเร็งปากมดลูก กันค่ะ  

           โรคมะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix)  เกิดจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) ภาษาไทยเรียกกันว่า ไวรัสหูด ไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุ และเชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จากปากมดลูกปกติกลายเป็นระยะก่อนเป็น มะเร็งปากมดลูก

           ไวรัสเอชพีวี มีทั้งหมดกว่า 100 ชนิด แต่ที่ทำให้ติดเชื้ออวัยวะสืบพันธุ์มีประมาณ 30-40 ชนิด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่ำและกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หรือหูดที่กล่องเสียง ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงก่อมะเร็งต่างๆ ได้แก่ มะเร็ง ปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด

สำหรับความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีดำเนินได้โดยง่าย เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทนทานต่อความร้อน และความแห้งได้ดี สามารถเกาะติดตามผิวหนัง อวัยวะเพศ เสื้อผ้า หรือแม้แต่กระจายอยู่รอบตัวในรูปของละอองฝุ่น ซึ่งผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ย่อมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี อย่าง ไรก็ตาม การติดเชื้อมักหายได้เอง ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย มีเพียง 10% เท่านั้น ที่การติดเชื้อยังดำเนินต่อไป สร้างความผิดปกติให้กับเยื่อบุปากมดลูก และทำให้กลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งก่อให้เกิด มะเร็งปากมดลูก  ได้นั้น ใช้เวลานานประมาณ 10-15 ปี

ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก

           - การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
           - การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน
           - การคลอดบุตรจำนวนหลายคน
           - การสูบบุหรี่
           - การมีภาวะคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะเป็นโรคเอดส์  
           - การสูบบุหรี่
           - พันธุกรรม
           - การขาดสารอาหารบางชนิด

           ปัจจัยเสี่ยงจาก ฝ่ายชาย ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก

           - ผู้ชายที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
           - ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
           - ผู้หญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
           - ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก
           - ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-22 00:52:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อาการและการรักษา โรค มะเร็งปากมดลูก

           โรค มะเร็งปากมดลูก มักพบในผู้หญิงอายุ 35 - 60 ปี แต่ก็อาจพบ มะเร็งปากมดลูก ก่อนวัยอันควรได้  ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วย มะเร็ง ปากมดลูก จะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

           อาการตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 – 90  ของผู้ป่วย มะเร็ง ปากมดลูก ลักษณะ เลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นมากและมะเร็งลุกลามออกไปด้านข้าง หรือลุกลามไปที่อุ้งเชิงกรานก็จะมีอาการปวดหลังได้ เพราะไปกดทับเส้นประสาท

           อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลัง  ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น
โรค มะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 0-4 ระยะ ดังนี้

           ระยะ 0  คือ เซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีรักษา มะเร็งปาก มดลูก ระยะ 0 คือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที และตรวจติดตามอาการ การรักษาระยะนี้ได้ผลเกือบ 100%

           ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 1 คือผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูก เลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ซึ่งได้ผลดีถึง 80%

            ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูก โดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษา มะเร็งปาก มดลูก ระยะที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด  (คีโม) ได้ผลราว 60%

            ระยะ ที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษา มะเร็งปาก มดลูก ระยะที่ 3 คือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด การรักษาระยะนี้ได้ผลประมาณ 20-30%

           ระยะ ที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกาย การรักษา มะเร็ง ปากมดลูก ระยะที่ 4 คือการให้คีโม และรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง 5-10% และโอกาสรอดน้อยมาก แต่ก็ไม่แน่ โดยมีผู้ป่วย มะเร็ง ปากมดลูก บางรายสามารถอยู่ต่อได้นานถึง 1-2 ปี จึงเสียชีวิต

ผลข้างเคียงจากการรักษาโรค มะเร็งปากมดลูก

           การ ผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่อาจเกิดได้ ได้แก่ การตกเลือด การติดเชื้อ อันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง
           การ ฉายแสง (ระยะเวลา 1-2 เดือน) ผลข้างเคียง คือ ผิวแห้ง ปัสสาวะมีเลือดปน อ่อนเพลีย
           ยา เคมีบำบัด ผลข้างเคียงคือ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง มือเท้าชา ซึ่งขึ้นกับยาแต่ละชนิดที่เลือกใช้
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-22 00:52:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหาโรค มะเร็งปากมดลูก เมื่อใด

           ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรองเชื้อ มะเร็ง ปากมดลูกหรือที่เรียกว่า แพปสเมียร์ (Pap Smear)   อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น

           ทั้งนี้ แพปสเมียร์ คือ วิธีการตรวจหาความผิดปกติ หรือโรค มะเร็ง ปากมดลูกที่ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 2–3 นาทีเท่านั้น เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง แพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไม้ขนาดเล็กขูดเบาๆ เพื่อเก็บเซลล์มาป้ายบนแผ่นกระจก และนำไปตรวจหาความผิดปกติ โดยก่อนที่จะตรวจ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรตรวจในช่วงระหว่างมีประจำเดือน งดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด หรือสอดยาใดๆ ก่อนเข้าทำการตรวจ ข้อดีคือ วิธีการตรวจแบบแพปสเมียร์นี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์

วัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก

           หลายๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก ความจริงแล้ว ระดับการป้องกันโรค มะเร็งปากมดลูกมีหลาย ระดับ โดยระดับแรกของการป้องกันคือ การฉีดวัคซีน ที่เชื่อว่าลดความเสี่ยงได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การป้องกันขั้นพื้นฐานด้วยการตรวจแพปสเมียร์เป็นประจำก็เป็นเรื่องสำคัญ

           ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา เด็กและหญิงสาวที่อายุต่ำกว่า 26 ปี ซึ่งไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวี ส่วนหญิงสาวที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรตรวจคัดกรอง มะเร็ง ปากมดลูกหรือแพปสเมียร์เสียก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอาจพบการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติ ซึ่งจะต้องทำการรักษาให้หายเสียก่อน จึงจะรับการฉีดวัคซีนได้ในเวลาต่อมา ส่วนวัยที่ควรเริ่มฉีด วัคซีนชนิดนี้คือ 9 ปีขึ้นไป และการใช้วัคซีนในผู้หญิงวัย 9 – 26 ปี จะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  

          อย่า ลืมหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย ที่สำคัญอย่ากลัวหรืออายที่จะไปตรวจหาเชื้อ มะเร็งปากมดลูก เพราะหากช้าไป โรคร้ายอาจทำลายคุณ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก kapook ค่ะ
- ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก อันนี้ก้อน่ากลัว เคยได้อ่านข้อมูลนี้มาเหมือนกัน อิอิอิอิ มะเร็งตายเร็วกว่า HIV อีก ... เพราะบางทีกว่าจะรู้ตัวก้อเปงมะเร็งขั้น 3 แหล่ว ...
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-22 01:57:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 4# รัชนก


    ดิสเพลย์ใหม่จำไม่ได้เลยพี่นก อิอิ
ขอบคุณ สำหรับข้อมูลค่ะ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-22 15:46:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 6# pueng4426


    เผอิญได้มีโอกาส ไปฉีดวัคซีนตัวนี้หน่ะเลยเอามาฝากกัน มันไม่แพงอย่างที่คิด ฉีดประมาณสามเข็ม เข็มละครั้ง ครั้งนึงเค้าจะนับเป้นเดือนนี่แหละ ถ้าเข้าข่ายในข้อได้ข้อหนึ่งก็ควร ที่จะใส่ใจนิดนุงเนาะ
คู่แฝดน่ะค่ะ 555555ตอบกลับ 5# misho
ขอบคุณ จขกท ที่หั้ยข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ
เราสามารถฉีดได้ด้วยหร่านึกว่าเฉพาะคนที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันซะอีก
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-23 00:06:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 8# รัชนก


    แหม๋เหมือนกันยะกะแกะ ทำไมเดาไม่ออกเนี่ย ยัยจีจี้5555
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-23 00:07:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 9# PAPAYA


    มาแชร์กันคะ
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-23 00:09:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 10# thailand


    อืมเราอยุ่ในกลุ้มเสี่ยงนะไก่ เรื่องแบบนี้รู้ไว้ใช่ว่า ไม่ได้เอามาให้กลัวกัน แต่ก็น่าจะป้องกัน กันได้นะถ้ารู้แต่เนิ่นๆอย่าอายที่จะไปเจอหมอ อย่าอายที่จะถาม เพราะหมอเค้าไม่ได้เห้นเราคนเดียวหรอกแหม๋5555
เปลี่ยนแล้วๆ อิอิอิอิ ตอบกลับ 11# misho
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-23 15:59:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 14# รัชนก


    อิอิ เด๋วนู๋ให้ดูแฝดผู้พี่แล้วจะตกใจ หุหุหุ
ก็หัวข้อมานบอกอยู่ว่าข้อมูลที่ผู้หญิงควรรู้

แกจาเข้ามาทามมายฟ่ะเนี๊ยะ ไอ้เบื๊อกเอ้ย...อิอิอิ
17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-23 22:46:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 16# kurama


    55555 ตกกะใจหมดเลย
ตอบกลับ 17# misho


    งิงิงิ เข้ามาอ่านแย้วก็ต้องด่าตัวเองไง แบบว่ามาเจือกทำม๊ายยยยยยยย
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-23 23:22:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 18# kurama


    เกิดมาเป็น พี่ดันตัวพ่อก็งี้ อิอิ
20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-23 23:23:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 18# kurama


    ม่ะว่ากันอย่างน้อยก็เอาไว้เตือนคนรอบข้าง พี่ๆน้องๆหรือแควนไรงี้ รู้ไว้ใช่ว่าคร่า
ตอบกลับ 20# misho


    โอเช...จัดไป
เราก็ไปทุกๆหกเดือนอ่ะไม่อาจหรอกแฟนก็เข้าไปด้วย5555+
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-24 00:56:23 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 22# thailand


    ถึงกับไปส่งถึงเตียงกันเลยทีเดียวเหอๆๆ เคยตรวจเมื่อ ห้าปีที่แล้ว แล้วยังไม่ได้ตรวจอีกเลยอ่ะ แต่กระแดะไปฉีดวัคซีนซะแระ เด๋วอีกซักพักจะต้องไปเจาะเลือดตรวจดูภุมิซักกะหน่อย 5555 ที่บ้านเป็นไรไม่รุชอบพาไปฉีดวัคซีน  วันนึงฉีดที่สามเข็มยกแขนแทบไม่ขึ้นไรประมาณนี้ เจอเข็มจนชินซะแล้วหละ5555
24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2010-6-24 00:57:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ 21# kurama


    นึกว่าหนีไปนอนซะแล้ว อิอิ แต่นี่ก้ดึกคงไปนอนแล้วหล่ะม้าง
นึกว่หลับแย้ว
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ที่ webdungdong@gmail.com|บริษัท ดั้งโด่งดอทคอม จำกัด|ติดต่อลงโฆษณา| ดั้งโด่งดอทคอม@2020

Copyright © 2001-2013 Comsenz Inc.   All Rights Reserved. Powered by Discuz! X3.2 R20140618, Rev.27, Thzaa City 1 Style

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้