|
ผู้ที่ควรแก่นามว่า “บัณฑิต” นั้น นอกจากความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจสูง มีศีลธรรม มีสติสัมปชัญญะ อดทน อดกลั้น ประพฤติแต่ในสิ่งที่ชอบที่ควร วางตนให้สมเกียรติ เป็นผู้ที่ควรแก่การ นับถือเป็นแบบอย่าง
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬามหาวิทยาลัย: ๒๖ มิถุนายน ๒๔๙๔
ในการประกอบการงานนั้น ถ้าท่านจะถือว่าบัดนี้ท่านเป็นบัณฑิตมีปริญญาบัตรแล้ว ควรจะต้องได้รับความไว้วางใจ และเชื่อถือโดยทันที ดั่งนี้ ก็เป็นความคิดที่ผิด ที่ถูกนั้นท่านจะต้องลงมือทำงาน ใช้ความรู้ ที่ได้มาให้เป็นประโยชน์แก่การงาน แสดงความสามารถเสียก่อน ในการนี้ ท่านจงพิจารณาหยั่งถึงสิ่งที่ควรและไม่ควร และมีใจหนักแน่นสุจริต อดทน มีความอุตสาหะหมั่นเพียรในการงาน และรักษาระเบียบวินัยเป็นบรรทัดฐาน เพื่อได้มาซึ่งความเชื่อถือและไว้วางใจ และเมื่อนั้นแหละค่าของปริญญาบัตร จึงจะบังเกิดขึ้น
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย :๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๖) |
|