ดู: 536|ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการจัดฟัน

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย opal2530 เมื่อ 2013-2-18 16:21


วันนี้มีความรู้ มาฝากค่ะ สำหรับคนที่อยากจัดฟันแต่บางทีก้อไม่ได้มีปัญหาอารัย ถ้ายังงัยลองส฿กษาข้อมูลยอะๆหน่อยนะคะ ข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการจัดฟัน
ข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการจัดฟัน

การรักษาต่างๆไม่ว่าในทางการแพทย์หรือทางทันตกรรม ย่อมมีปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นก่อนตัดสินใจรับการรักษา ผู้ป่วยจึงควรรับทราบและพิจารณาผลเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นดังต่อไปนี้

1.การ เกิดฟันผุ โรคเหงือก และการเกิดจุดด่างขาว(decalcification)บนผิวเคลือบฟัน ผลเหล่านี้จะเกิดในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป และ/หรือไม่ทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีและอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปัญหานี้ก็เกิดขึ้นได้ตามปกติแม้จะไม่ได้รับการจัดฟัน แต่การจัดฟันก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้มากขึ้น

2.ใน ผู้ป่วยบางราย อาจทำให้ความยาวของรากฟันลดลงในขณะที่จัดฟัน ซึ่งโอกาสที่จะเกิดนั้นมีไม่เท่ากันในแต่ละราย ส่วนใหญ่มักเกิดอย่างไม่มีนัยสำคัญ และจะไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการ บดเคี้ยวอาหาร

3.การเคลื่อนฟัน อาจมีผลต่อสุขภาพของกระดูกและเหงือกที่รองรับฟันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มี

รอยโรคเดิมอยู่แล้ว ในผู้ป่วยที่มีการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ การจัดฟันจะช่วยลดการสูญเสียฟัน

หรือการเกิดเหงือกอักเสบได้ ส่วนการเกิดเหงือกอักเสบหรือการเกิดการละลายตัวของกระดูกเบ้าฟัน จะเกิดได้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดฟันเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ ออกจากฟันได้หมด

4.ภาย หลังการจัดฟันเสร็จแล้ว ฟันอาจมีการเคลื่อนไปจากตำแหน่งที่จัดไว้ได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้เล็กน้อย และเราสามารถลดการเกิดกรณีดังกล่าวได้ โดยการใส่เครื่องมือคงสภาพฟันอย่างสม่ำเสมอและเป็นเวลานานเพียงพอ โดยปกติ ฟันสามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปในลักษณะที่ไม่ต้องการได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขึ้นของฟันคุด การเจริญเติบโต และ/หรือการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ การหายใจทางปาก การเล่นเครื่องดนตรีบางชนิด และนิสัยผิดปกติบางอย่างในช่องปาก ซึ่งปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยที่ทันตแพทย์ไม่สามารถควบคุมได้

5.ใน บางกรณี อาจมีปัญหาเกิดขึ้นที่ข้อต่อขากรรไกร อันมีผลให้เกิดการปวดที่ข้อต่อดังกล่าว ปวดศีรษะ หรือภายในหู ซึ่งปัญหานี้อาจจะเกิดขึ้นได้แม้จะไม่ได้รับการจัดฟัน ดังนั้น ถ้าเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น

ผู้ป่วยควรจะรีบแจ้งให้กับทันตแพทย์ทราบ

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-2-18 16:21:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
6.ใน บางกรณี สำหรับฟันซี่ที่เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อน หรือเคยผุลึกมากๆ การเคลื่อนฟันอาจมีผลต่อเส้นประสาทที่มาหล่อเลี้ยงฟัน ทำให้มีอาการมากขึ้นจนต้องทำการรักษาคลองรากฟัน

7.ใน บางกรณี เครื่องมือจัดฟันอาจหลุด และคนไข้อาจกลืนลงไปด้วยความบังเอิญ ซึ่งจะออกจากร่างกายโดยการขับถ่าย นอกจากนี้เครื่องมือจัดฟันอาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือเกิดแผลบริเวณเหงือก แก้ม และริมฝีปากได้ ปกติแล้ว ภายหลังจากการพบทันตแพทย์เพื่อทำการปรับเครื่องมือในแต่ละครั้ง มักจะทำให้เกิดอาการตึงหรือปวดฟันบ้าง โดยที่ช่วงเวลาและระดับความรู้สึกดังกล่าวจะไม่เท่ากันในแต่ละราย โดยทั่วไป ความรู้สึกปวดหรือตึงฟันมักจะค่อยๆลดลงไปภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากการปรับเครื่องมือ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ หรือมีเครื่องมือหัก หลุดเกิดขึ้น ผู้ป่วยควรจะแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบโดยเร็วเพื่อแก้ไข หรือป้องกันมิให้เครื่องมือที่หลวมหลุดเข้าคอ

8.ใน บางกรณี(ซึ่งเกิดขึ้นน้อยราย) การใช้เครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟัน อาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก หรือเกิดการกระทบกระแทกต่อฟันได้บ้าง ส่วนการสึกของฟันที่ผิดปกติอาจเกิดขึ้นเองได้

ถ้าผู้ป่วยมีการบดเคี้ยวที่รุนแรงกว่าปกติ

9.การ ใช้เครื่องมือจัดฟันชนิดนอกช่องปาก เช่น headgear เป็นต้น อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อใบหน้า หรือตาจนถึงขั้นตาบอดได้ถ้าใช้โดยขาดความระมัดระวัง เช่นการที่ผู้ป่วยใส่เครื่องมือนอกช่องปากนั้นใน ขณะเล่นกีฬาที่เป็นการแข่งขัน จึงห้ามไม่ให้ใส่ในขณะเล่นกีฬาดังกล่าว เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ แม้เครื่องมือจะมีระบบความปลอดภัยไว้แล้วก็ตาม

10.โดย มาก การจัดฟันเพื่อแก้ไขการมีฟันซ้อนเก มักจะต้องมีการถอนฟันบางซี่ หรือในการแก้ไขการไม่สมดุลของโครงสร้างขากรรไกรบนและล่าง อาจต้องอาศัยการผ่าตัดร่วมด้วย ผู้ป่วยจึงควรสอบถามถึงปัจจัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับการบำบัดรักษา ดังกล่าว

จากทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาก่อนการตัดสินใจ

11.รูปร่างของฟันที่ผิดปกติ หรือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของขากรรไกร

อาจจะทำให้ผลการรักษาที่ได้รับถูกจำกัดมากขึ้น เช่น ในกรณีที่การเจริญเติบโตของขากรรไกรมีความไม่สมดุลกันในระหว่างหรือหลังการรักษา

หรือมีการขึ้นของฟันที่ช้าผิดปกติ อาจทำให้การสบฟันเปลี่ยนไป ทำให้อาจต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม หรือบางครั้งอาจต้องจัดฟันร่วมกับการผ่าตัด การที่ผู้ป่วยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติไม่สมดุลกันหรือมีการสร้างของฟัน ที่ผิดปกติเหล่านี้ เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่ทันตแพทย์ไม่สามารถควบคุมได้ และการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโต

ภายหลังจากการจัดฟัน อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลการรักษา

12.ระยะ เวลาทั้งหมดที่ต้องใช้ในการจัดฟันนั้น อาจไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน การมีการเจริญเติบโตของกระดูกที่น้อยหรือมากกว่าปกติ การให้ความร่วมมือที่ไม่ดีพอในการใส่เครื่องมือในแต่ละวัน การไม่รักษาความสะอาดภายในช่องปาก การทำเครื่องมือหลุด และการผิดนัดกับทันตแพทย์ ล้วนมีผลให้ระยะเวลาในการรักษาเพิ่มขึ้น และจะมีผลต่อผลการรักษาที่จะได้รับ

13.เนื่องจากขนาดและรูปร่างของฟัน มีความแตกต่างกันอย่างมาก บางครั้งเพื่อให้ได้ผลในการจัดฟันที่ดี

(เช่น การปิดช่องว่างระหว่างฟัน) ทันตแพทย์จำเป็นต้องใช้การบูรณะฟันเข้าช่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักได้แก่การอุดฟัน การทำครอบฟันหรือสะพานฟัน และ/หรือการรับการรักษาทางศัลย์ปริทันต์ ผู้ป่วยสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาดังกล่าว

14.การมีโรคประจำตัวบางอย่างอาจมีผลต่อการจัดฟัน ผู้ป่วยควรแจ้งแก่ทันตแพทย์ทราบในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพเกิดขึ้น
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-2-18 16:22:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ยังงัยลองศึกษาข้อมูลและปรึกษาคุนหมอดูหั้ยดีก่อนนะคะ เพราะว่านี่เปนเพียงส่วนนึงที่มาเตือนเท่านั้นค่ะ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ที่ webdungdong@gmail.com|บริษัท ดั้งโด่งดอทคอม จำกัด|ติดต่อลงโฆษณา| ดั้งโด่งดอทคอม@2020

Copyright © 2001-2013 Comsenz Inc.   All Rights Reserved. Powered by Discuz! X3.2 R20140618, Rev.27, Thzaa City 1 Style

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้