ดั้งโด่งดอทคอม

ชื่อกระทู้: ริมฝีปากคล้ำ [สั่งพิมพ์]

โดย: opal2530    เวลา: 2013-2-20 21:01
ชื่อกระทู้: ริมฝีปากคล้ำ
ริมฝีปากคล้ำ

ปัญหาของริมฝีปาก ก็ไม่แตกต่างจากปัญหาผิวพรรณในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และสิ่งที่ก่อความกังวลให้หญิงสาวจำนวนมากก็คือ ปัญหาริมฝีปากคล้ำ ริมฝีปากแห้งและแตก หรือลอกเป็นขุย ซึ่งหากดูแลไม่ดีพอหรือแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ริมฝีปากก็จะยิ่งดำคล้ำทำให้ดูหน้าเกลียด และบั่นทอนความงามของใบหน้าลงไปมากเลยที่เดียว



โดย: opal2530    เวลา: 2013-2-20 21:01
สวยงามตามธรรมชาติ
สีของริมฝีปากตามปกติมีตั้งแต่สีชมพูสด สีแดง ไปจนถึงสีคล้ำ การเปลี่ยนแปลงสีที่ริมฝีปากเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล เช่น คนผิวคล้ำก็มีโอกาสที่จะมีริมฝีปากเข้มมากกว่าคน ผิวขาว นอกจากนั้นก็ยังเป็นไปตามวัย และสภาพแวดล้อมด้วย ที่ธรรมชาติได้กำหนดไว้ว่าเมื่ออายุมากขึ้น ริมฝีปากก็จะเริ่มมีสีคล้ำขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับสีของผิวหนังส่วนอื่นๆ ในร่างกาย เพราะฉะนั้นก็อย่าไปกังวลเลย
โดย: opal2530    เวลา: 2013-2-20 21:01
ปัจจัยการเกิด ริมฝีปากคล้ำ

ลักษณะเฉพาะบุคคล ดังที่กล่าวแล้วว่า คนผิวคล้ำจะมีริมฝีปากสีเข้มมากกว่าคนผิวขาว ซึ่งเป็นเรื่องของคน คนนั้น

อุณหภูมิ อาจมีผลทำให้ริมฝีปากเปลี่ยนแปลงได้ เช่นช่วงที่อากาศหนาวเย็น ปากอาจจะมีสีคล้ำขึ้น เพราะเส้นเลือดหดตัวและมีสีดำมาคั่งค้างมากกว่าปกติ
โดย: opal2530    เวลา: 2013-2-20 21:01
ผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ เช่นเลือดจาง เจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยระยะฟื้นไข้ ปริมาณเลือดที่ไหลมาเลี้ยงริมฝีปากมีน้อย จึงทำให้ริมฝีปากดูซีดเซียว ไม่มีสีสัน หรือผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจที่เลือดมีความเข้มข้น ก็จะทำให้ริมฝีปากดูคล้ำกว่าคนปกติได้

อาหารที่เรากินอยู่ทุกวัน ก็มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้เกิดปัญหา ปากคล้ำ ตัวอย่างเช่น ผักขึ้นฉ่าย ผักชี ฝรั่ง หอม กระเทียม ขิง หรือผลไม้รสเปรี้ยวพวกส้ม สับปะรด มะม่วง ฯลฯ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีสารที่ชื่อว่า โซราเลน (psoralen) สารดังกล่าวเมื่อตกค้างตามริมฝีปากก็ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาแต่อย่างไร แต่ถ้าสารเหล่านี้สัมผัสกับสารอัลตราไวโอเลตในแสงแดด ก็จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้ริมฝีปากอักเสบ และมีการกระตุ้นเซลล์สร้างให้สร้างเม็ดสีออกมามาก ๆ จน ปากดำคล้ำ (ทางการแพทย์เรียกว่าปฏิกิริยาแพ้แดด)
โดย: opal2530    เวลา: 2013-2-20 21:01
ยาบางชนิด ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้แดดได้ เช่น เบาหวาน ยาขับปัสสาวะ ยารักษาเชื้อรา ยารักษาหวัดหรือโรคภูมิแพ้

ริมฝีปากแห้ง ปากแตก หรือลอกเป็นขุย ส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันนั้นเอง โดยที่หลายคนคิดไม่ถึง

ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ซึ่งมีส่วนผสมของฟลูออไรด์หรือแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง รวมถึงสารที่ทำให้เกิดฟอง และสารที่ทำให้เกิดความสดชื่นที่มีรสเผ็ดซ่าในยาสีฟันด้วย
โดย: opal2530    เวลา: 2013-2-20 21:01
ลิปสติก ซึ่งสารประกอบที่ทำให้เกิดปัญหาที่สุดคือ สี กลิ่น น้ำหอม ลาโนลิน (ที่ให้ความชุมชื้น) และสารกันบูด

สิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น อากาศ ที่เย็นและแห้งในหน้าหนาว หรือการทำงานในห้องปรับอากาศตลอดเวลา และการดื่มน้ำน้อย เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ ริมฝีปากแห้ง
โดย: opal2530    เวลา: 2013-2-20 21:01
การเลียริมฝีปาก ซึ่งคนส่วนใหญ่ใช้วิธีแก้ไขปัญหาปากแห้งและแตก แต่ความเป็นจริงที่ค้านกับคนทั่วไป กลับกลายเป็นว่าหากเลียริมฝีปากบ่อย เอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารในน้ำลายจะยิ่งรบกวนริมฝีปากให้แห้งมากยิ่งขึ้น

การใช้ลิปปาล์ม เป็นเวลานานจนติดเป็นนิสัย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ริมฝีปากแห้ง ลิปปาล์มอาจช่วยเบาเทาให้ริมฝีปากแห้งได้ชั่วคราว แต่ในระยะอาจทำให้ริมฝีปากแตกแห้งมากขึ้น เพราะสารสำคัญที่ผสมอยู่ในลิปปาล์มทั่วไปจะดูดความชื้นของริมฝีปาก จนทำให้ต้องทาลิปปาล์มอยู่บ่อย ๆ
โดย: opal2530    เวลา: 2013-2-20 21:01
วิธีการแก้ไขได้ไม่ยาก

หากสำรวจตัวเองจนได้คำตอบแล้วว่า ต้นตอของปัญหา ริมฝีปากดำคล้ำ แห้ง แตก และลอกเป็นขุย เกิดจากสาเหตุใด วิธีแก้ไขก็ไม่ใช้เรื่องยากเย็นอะไรเลย โดยปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ คือ

1. ดื่มน้ำมากๆ มากจนเพียงพอที่จะให้ความชุมชื้นถึงทุกส่วนของ ผิวหนัง รวมทั้งริมฝีปาก เพราะยิ่งอายุเพิ่มขึ้น เซลล์ในร่างกายจะเก็บความชุ่มชื้นได้น้อยลง
2. เมื่อกินผักผลไม้เสร็จแล้วล้างปากให้สะอาดทุกครั้ง
3. เปลี่ยนยาสีฟันที่มีฟองมาก รสเผ็ดซ่า เป็นยี่ฮ้อที่มีฟองน้อยลง และเผ็ดน้อย หรือใช้ยาสีฟันเด็ก หรืออาจใช้วิธีทาวาสลินขาวเคลือบริมฝีปากก่อนแปรงฟัน เพื่อป้องกันฟองยาสีฟันรบกวนริมฝีปาก ถ้าไม่มีวาสลินขาวอาจใช้เบบี้ออยล์ (baby oil) แทนก็ได้
4. อย่าเลียริมฝีปากแม้ว่าจะช่วยให้ริมฝีปากชุ่มชื่นขึ้น (ชั่วคราว) แต่เมื่อความชื้นระเหยกลับ จะทำให้ริมฝีปากแห้งมากขึ้น
5. ทาริมฝีมากบ่อยๆ ด้วยวาสลินขาวแทนลิปกลอสหรือลิปมันที่แห้งหรือแข็งเกินไป หรืออาจใช้ลิปปาล์มที่มีสารจากธรรมชาติ และมีสารป้องกันแสงแดดอยู่ด้วย
โดย: opal2530    เวลา: 2013-2-20 21:01






ยินดีต้อนรับสู่ ดั้งโด่งดอทคอม (http://dungdong.com/) Powered by Discuz! X3.2