ดั้งโด่งดอทคอม
ชื่อกระทู้:
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร? อันตรายหรือไม่? คำแนะนำและข้อควรระวังก่อนฉีด
[สั่งพิมพ์]
โดย:
beautyeditor
เวลา:
2024-11-1 11:32
ชื่อกระทู้:
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร? อันตรายหรือไม่? คำแนะนำและข้อควรระวังก่อนฉีด
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร? อันตรายหรือไม่? คำแนะนำและข้อควรระวังก่อนฉีด
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร?
ฟิลเลอร์ปลอม คือ ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) และมักผลิตจากสารที่ไม่สามารถสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น ซิลิโคนเหลว หรือพาราฟิน ฟิลเลอร์ปลอมมักตกค้างในชั้นผิว ทำให้เกิดการอักเสบ บวมแดง และติดเชื้อ อีกทั้งยังมีผลกระทบในระยะยาวที่อาจรุนแรง ฟิลเลอร์ปลอมที่ลักลอบนำเข้าและวางจำหน่ายในราคาถูก มักไม่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ และการใช้ฟิลเลอร์ปลอมอาจทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพ
การใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านการรับรองจะให้ผลลัพธ์ที่ปลอดภัยกว่า เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานและถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด
ฟิลเลอร์แท้และฟิลเลอร์ปลอม แตกต่างกันอย่างไร?
1.มาตรฐานการผลิต ฟิลเลอร์แท้จะต้องผลิตผ่านมาตรฐานจากองค์กรทางการแพทย์และได้รับการรับรองจาก อย. ฟิลเลอร์แท้มักจะมีบรรจุภัณฑ์ที่ระบุข้อมูลครบถ้วน ส่วนฟิลเลอร์ปลอมมักไม่มีมาตรฐานการผลิตและการบรรจุที่ชัดเจน
2.ส่วนประกอบ ฟิลเลอร์แท้มักประกอบด้วยสารที่สลายได้ตามธรรมชาติ เช่น HA ส่วนฟิลเลอร์ปลอมมักมีการผสมสารอื่นๆ ที่ไม่สามารถสลายได้
3.ความปลอดภัย ฟิลเลอร์แท้มีความปลอดภัยสูงเพราะผ่านการทดสอบทางคลินิก ส่วนฟิลเลอร์ปลอมอาจมีสารปนเปื้อน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและอักเสบหลังฉีด
4.ราคา ฟิลเลอร์แท้มีราคาสูงกว่าฟิลเลอร์ปลอมเนื่องจากมาตรฐานการผลิตสูงกว่า ในขณะที่ฟิลเลอร์ปลอมมีราคาถูก แต่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูง
อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอม
1.การอักเสบและติดเชื้อ ฟิลเลอร์ปลอมที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานอาจมีการปนเปื้อนสารเคมีหรือแบคทีเรีย อาจเกิดบวมแดงหรือเป็นหนองในบริเวณที่ฉีด และอาจสร้างแผลเรื้อรังที่ยากต่อการรักษา
2.ฟิลเลอร์เคลื่อนที่ผิดที่หรือแข็งตัว ฟิลเลอร์ปลอมไม่สามารถสลายได้ อาจสะสมใต้ผิวหนังหรือแข็งตัว ทำให้ใบหน้าผิดรูปหรือเป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนัง ต้องผ่าตัดออกเท่านั้น
3.อุดตันเส้นเลือด อาจเกิดการอุดตันในเส้นเลือดซึ่งรุนแรงถึงขั้นเนื้อตายบริเวณที่ถูกอุดตัน หรืออาจทำให้สูญเสียการมองเห็นในกรณีที่ฟิลเลอร์ไหลไปสู่เส้นเลือดบริเวณรอบดวงตา
4.ผลข้างเคียงระยะยาว ฟิลเลอร์ปลอมมักไม่สามารถสลายได้ด้วยเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) จึงต้องใช้วิธีการขูดออกหรือผ่าตัดเท่านั้น
ตัวอย่างฟิลเลอร์แท้และวิธีตรวจสอบ
-Juvederm ฟิลเลอร์ยี่ห้อนี้ผลิตโดยบริษัท Allergan ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยฟิลเลอร์แท้จะมีเลข Lot และเอกสารกำกับในกล่อง สามารถตรวจสอบได้ผ่าน Allergan Thailand
-Restylane ผลิตจากบริษัท Galderma ประเทศสวีเดน ฟิลเลอร์ Restylane จะมีบรรจุภัณฑ์ที่หรูหรา พร้อมฉลากและ QR Code ที่สามารถสแกนเพื่อยืนยันความเป็นของแท้ได้
-Neuramis มี QR Code บนบรรจุภัณฑ์และฉลาก อย. ซึ่งสามารถสแกนเพื่อตรวจสอบรายละเอียดผลิตภัณฑ์ได้
ฉีดฟิลเลอร์ปลอมไปแล้วจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง?
หากได้รับการฉีดฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายได้ตามธรรมชาติ การแก้ไขต้องทำการขูดหรือผ่าตัดเพื่อเอาฟิลเลอร์ออก ซึ่งการแก้ไขประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงและอาจไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกได้ทั้งหมด ควรทำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมในสถานพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ฟิลเลอร์ปลอม ถือได้ว่าเป็นสารเติมเต็มที่อันตรายเพราะไม่ถูกการรับรองจาก อย. ทั้งยังมีการปนเปื้อนและใช้สารเหลวที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะสมกับการฉีดเข้าสู่ร่างกาย จึงควรเลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ฉีดโดยแพทย์มากประสบการณ์จะดีกว่า เสียเงินแล้วต้องคุ้มค่า ไม่ต้องมาตามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลัง เพราะหากเกิดปัญหาจากฟิลเลอร์ปลอมต้องทำการขูดออกเท่านั้น ส่งผลให้ผิวหน้าเกิดการเปลี่ยนแปลงผิดรูปได้ หากใครที่อยากฉีดฟิลเลอร์ครั้งแรกหรืออยากทำแต่ยังไม่กล้า แนะนำให้เข้ามาปรึกษาที่ Vincent Clinic ได้เลย
ยินดีต้อนรับสู่ ดั้งโด่งดอทคอม (http://dungdong.com/)
Powered by Discuz! X3.2